แหล่งท่องเที่ยวลำปาง
รวมแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565
พระธาตุม่อนกันวีศรีภาวนาสถาน
บ้านสวนลุงนวล เกษตรอินทรีย์
วัดทุ่งม่านเหนือ
วัดทุ่งม่านใต้-บ่อหิน
วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564
วัดจองคําพระอารามหลวงตำบล บ้านหวด อ.งาว ลำปาง
วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564
สถานีรถไฟลำปาง
สถานีรถไฟลำปาง
สถานีแห่งนี้เปิดรับขบวนรถไฟโดยสารครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ซึ่งตรงกับวันปีใหม่ไทยในยุคนั้น สมัยนั้นมีเจ้ากรมรถไฟเป็นวิศวกรชาวเยอรมัน
ถ้าเอ่ยถึงความคลาสสิกของสถานีรถไฟที่ยังคงหลงเหลืออยู่ทั่วเมืองไทยแล้ว รับรองว่าสถานีรถไฟนครลำปาง ที่เป็นดั่งสัญลักษณ์ของเมืองลำปางแห่งนี้ต้องติดโผเข้าไปด้วย สถานีแห่งนี้เปิดรับขบวนรถไฟครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ซึ่งตรงกับวันปีใหม่ไทยสมัยนั้นโดยมีเจ้ากรมรถไฟเป็นวิศวกรชาวเยอรมัน และสถานีรถไฟนครลำปางแห่งนี้คือจุดสิ้นสุดของเส้นทางรถไฟสายเหนือนั่นเอง สถานีนี้ตั้งอยู่สุดถนนสุเรนทร์บริเวณสี่แยกบ้านสบตุ๋ยอันเป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนสามสายแรกในภาคเหนือของประเทศไทย ต่อมาพื้นที่นาบริเวณชานเมืองได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับความเจริญที่เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งได้มีการพัฒนาเส้นทางรถไฟด้วยการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานผ่านภูเขาและไปถึงนครเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2464 ห้วงขณะนั้นเอง นครลำปางจึงเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปยังภาคเหนือและลำเลียงสินค้าสำคัญจากภาคเหนือมายังกรุงเทพฯ ย่านการค้าสบตุ๋ยจึงมีความเจริญมาก ในปัจจุบันอาคารโบราณเหล่านี้ยังคงหลงเหลือให้เราได้ชื่นชม นับเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมที่คงรายละเอียดอันสวยงามไว้อย่างสมบูรณ์
ประวัติสถานีรถไฟลำปาง
ที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ : วิศวกรชาวเยอรมัน
ผู้ครอบครอง : การรถไฟแห่งประเทศไทย
ปีที่สร้าง : พ.ศ. 2458 - 2459 (ร.6)
ปีที่ได้รับรางวัล : พ.ศ. 2536 (ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการอนุรักษ์ สถาปัตยกรรมแห่งสมาคมสถาปนิกสยามฯ ให้เป็น อาคารอนุกรักษ์ดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ)
สถานีรถไฟลำปางเป็นสถานีรถไฟรุ่นแรกๆ ที่สร้างขึ้นในประเทศไทยและยังคงเหลืออยู่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ออกแบบโดยวิศวกรชาวเยอรมันซึ่งได้รับมอบหมายให้สร้างทางรถไฟสายเหนือ นับว่าการสร้างสถานีรถไฟแห่งนี้ได้นำ
ความก้าวหน้ามาสู่นครลำปางก่อนเชียงใหม่หลายปี เนื่องจากการเจาะอุโมงค์ที่ถ้ำขุนตานยังไม่แล้วเสร็จ โดนสถานี
ลำปางเปิดใช้งาน 1 เมษายน 2459 รองรับ ขบวน รถรวม พิษณุโลก - ลำปาง และ อุตรดิตถ์ - ลำปาง ก่อนมีรถด่วน
สายเหนือตรงจากกรุงเทพ ขึ้นมาทำขบวนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2465
ในพ.ศ. 2506 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดส่งหัวรถจักรไอน้ำมาแสดงไว้ที่สถานีรถไฟลำปาง และกำหนดให้
สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นสถานีประวัติศาสตร์ และทำการอนุรักษ์ไว้ รูปแบบสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟลำปางเป็นอาคาร
2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีปีก 2 ข้างเชื่อมกับโถงกลาง รูปแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียล มีการใช้โค้ง (arch) และการประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุ และปูนปั้น พื้นที่ของสถานีรถไฟนครลำปาง มีประมาณ 161 ไร่ มีตัวอาคารสถานี คลังสินค้า พื้นที่เก็บหัวรถจักรและตัวรถไฟ รวมถึงพื้นที่บ้านพักพนักงาน อาคารสถานีดังที่เห็นในปัจจุบันได้ผ่านการต่อเติมมาเป็นบางส่วน โดยเฉพาะช่วงก่อนปีพ.ศ. 2520 มีการต่อเติมส่วนควบคุมบริเวณปีกทางทิศใต้ ส่วนพักคอยด้านติดรางรถไฟ และ ซุ้มด้านหน้าที่จอดรถ จากนั้นมีการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา กระเบื้องพื้น และปรับปรุงพื้นชั้นล่างทั้งหมดในปี พ.ศ. 2538
รัชกาลที่ ๗ เสด็จถึงนครลำปาง ณ สถานีรถไฟลำปาง...
อาคารสถานีรถไฟหลังนี้ปัจจุบันยังใช้งานอยู่ โดดเด่นเป็นสง่า
http://www.asa.or.th/heritage/north007.html