" บ้านบอมเบย์ " ผู้สร้างบริษัท บอมเบย์เบอร์มา จำกัด ( Bombay Burma Trading coporation ) เข้ามาเปิดสาขาภาคเหนือลำปาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2436 โดยเปิดเป็นสำนักงานบริษ้ทค้าไม้สัญชาติอังกฤษ หลังเชียงใหม่ 2 ปี
มร.เจมส์ เกรย์ เป็นคนอังกฤษ ทำงานให้กับบริษัท บอมเบย์เบอร์มา
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2434 ถูกแต่งตั้งให้มาเป็นผู้จัดการเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2441 และได้ลาออกจากบริษัทเมื่อปี พ.ศ.2444 อายุได้เพียง 42 ปี
มร.เจมส์ เกรย์ เป็นคนอังกฤษ ทำงานให้กับบริษัท บอมเบย์เบอร์มา
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2434 ถูกแต่งตั้งให้มาเป็นผู้จัดการเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2441 และได้ลาออกจากบริษัทเมื่อปี พ.ศ.2444 อายุได้เพียง 42 ปี
มร.เจมส์ เกรย์ สมรสกับคุณย่าบัวเขียว จันทน์เกษร เป็นคนเชียงใหม่
( กลับอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่งงานใหม่กับหญิงชาวอังกฤษ และได้ถึงแก่กรรมที่อังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2477 )
มีบุตรชายคนเดียวชื่อ นายเยมส์ (ป๋าเยมส์) หรือ นายบุญยงค์ จันทน์เกษร
เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2438 จบโรงเรียนปรินส์รอยแยลล์เชียงใหม่
เป็นผู้จัดการบริษัท บอมเบย์เบอร์มา จำกัด 1ใน 4 บริษัทต่างชาติที่ได้รับสัมปทานทำไม้สักในจังหวัดลำปาง ต่อมาบริษัท บอมเบย์เบอร์มา จำกัดเลิกกิจการ นายบุญยงค์ จันทน์เกษร จึงได้ซื้อที่ดินและอาคารเก็บไว้เป็นที่พักอยู่อาศัย และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นบุกยึดอาคารหลังนี้ เพื่อใช้เป็นฐานกองบัญชาการของทหารญี่ปุ่น แต่เดิมพื้นที่ของบริษัทมีพื้นที่ครอบคลุมมาถึงติดถนนวังขวาตลอดแนวทั้งหมด แต่ถูกรัฐบาลเวรคืนทำวงเวียนไก่ขาวและทางขึ้นสะพานพัฒนาภาคเหนือ เพื่อตัดเส้นทางและทำสะพานพัฒนาภาคเหนือในสมัยของจอมพลถนอม กิตติขจร
มีสระบ่อดินเก็บน้ำสำหรับให้ช้างกินน้ำและอาบน้ำบริเวณด้านหน้าอาคาร 1 สระ ถัดไปจะมีน้ำบ่อหลวงขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐมอญก้อนโต 1 บ่อ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.00 เมตร ลึกประมาณ 4.00-6.00 เมตร ปากบ่อสูงจากพื้นประมาณ 0.40 เมตร อยู่บริเวณหน้าร้านซ่อมรถยนต์ในปัจจุบัน
( กลับอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่งงานใหม่กับหญิงชาวอังกฤษ และได้ถึงแก่กรรมที่อังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2477 )
มีบุตรชายคนเดียวชื่อ นายเยมส์ (ป๋าเยมส์) หรือ นายบุญยงค์ จันทน์เกษร
เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2438 จบโรงเรียนปรินส์รอยแยลล์เชียงใหม่
เป็นผู้จัดการบริษัท บอมเบย์เบอร์มา จำกัด 1ใน 4 บริษัทต่างชาติที่ได้รับสัมปทานทำไม้สักในจังหวัดลำปาง ต่อมาบริษัท บอมเบย์เบอร์มา จำกัดเลิกกิจการ นายบุญยงค์ จันทน์เกษร จึงได้ซื้อที่ดินและอาคารเก็บไว้เป็นที่พักอยู่อาศัย และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นบุกยึดอาคารหลังนี้ เพื่อใช้เป็นฐานกองบัญชาการของทหารญี่ปุ่น แต่เดิมพื้นที่ของบริษัทมีพื้นที่ครอบคลุมมาถึงติดถนนวังขวาตลอดแนวทั้งหมด แต่ถูกรัฐบาลเวรคืนทำวงเวียนไก่ขาวและทางขึ้นสะพานพัฒนาภาคเหนือ เพื่อตัดเส้นทางและทำสะพานพัฒนาภาคเหนือในสมัยของจอมพลถนอม กิตติขจร
มีสระบ่อดินเก็บน้ำสำหรับให้ช้างกินน้ำและอาบน้ำบริเวณด้านหน้าอาคาร 1 สระ ถัดไปจะมีน้ำบ่อหลวงขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐมอญก้อนโต 1 บ่อ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.00 เมตร ลึกประมาณ 4.00-6.00 เมตร ปากบ่อสูงจากพื้นประมาณ 0.40 เมตร อยู่บริเวณหน้าร้านซ่อมรถยนต์ในปัจจุบัน
ป๋าเยมส์ หรือ นายบุญยงค์ จันทน์เกษร ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.2520
สมรสกับภรรยาคนแรกชื่อ คุณยายคำป้อ จันทน์เกษร (หย่าร้าง)
มีบุตร 4 คน ชื่อ
1.คุณจินดา จันทน์เกษร เสียชีวิต
2.คุณปรีชา จันทน์เกษร เสียชีวิต
3.คุณลัดดา จันทน์เกษร
4.คุณมุกดา จันทน์เกษร
สมรสกับภรรยาคนแรกชื่อ คุณยายคำป้อ จันทน์เกษร (หย่าร้าง)
มีบุตร 4 คน ชื่อ
1.คุณจินดา จันทน์เกษร เสียชีวิต
2.คุณปรีชา จันทน์เกษร เสียชีวิต
3.คุณลัดดา จันทน์เกษร
4.คุณมุกดา จันทน์เกษร
สมรสกับภรรยาคนที่ 2 หลังจากการหย่าร้าง ชื่อคุณย่าชื่น จันทน์เกษร (ตันฤดี)
มีบุตร 2 คนชื่อ
1.คุณเชิดชาย จันทน์เกษร เสียชีวิต ACLA รุ่น 02
2.คุณบุญเจริญ จันทน์เกษร เสียชีวิต ACLA รุ่น 05
จบจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รุ่นที่ 28
( รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดภาคเหนือหลายอำเภอและหลายตำแหน่งครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ดำรงค์ตำแหน่งผู้ช่วยเกษตร อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.2544
สมรสกับ คุณสมพร จันทน์เกษร (อุบลศรี) เป็นคนลำปาง
ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ดูแลบ้านบอมเบย์หลังนี้อยู่
มีบุตร 3 คนชื่อ
1.คุณธนบดี จันทน์เกษร
2.คุณประกฤต จันทน์เกษร
3.คุณกฤชอร จันทน์เกษร
มีบุตร 2 คนชื่อ
1.คุณเชิดชาย จันทน์เกษร เสียชีวิต ACLA รุ่น 02
2.คุณบุญเจริญ จันทน์เกษร เสียชีวิต ACLA รุ่น 05
จบจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รุ่นที่ 28
( รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดภาคเหนือหลายอำเภอและหลายตำแหน่งครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ดำรงค์ตำแหน่งผู้ช่วยเกษตร อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.2544
สมรสกับ คุณสมพร จันทน์เกษร (อุบลศรี) เป็นคนลำปาง
ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ดูแลบ้านบอมเบย์หลังนี้อยู่
มีบุตร 3 คนชื่อ
1.คุณธนบดี จันทน์เกษร
2.คุณประกฤต จันทน์เกษร
3.คุณกฤชอร จันทน์เกษร
สมรสกับภรรยาคนที่ 3 หลังจากภรรยาคนที่ 2 ได้ถึงแก่กรรม
ชื่อ คุณย่าเพ็ญแข จันทน์เกษร ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่อายุได้ 90 ปี
มีบุตร 3 คนชื่อ
1.คุณประจักร จันทน์เกษร
2.คุณสุรศักดิ์ จันทน์เกษร
3.คุณสุชดาพร จันทน์เกษร
ชื่อ คุณย่าเพ็ญแข จันทน์เกษร ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่อายุได้ 90 ปี
มีบุตร 3 คนชื่อ
1.คุณประจักร จันทน์เกษร
2.คุณสุรศักดิ์ จันทน์เกษร
3.คุณสุชดาพร จันทน์เกษร
ป๋าเยมส์ หรือ นายบุญยงค์ จันทน์เกษร และคุณย่าชื่น จันทน์เกษร พักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังใหญ่ ส่วนคุณบุญเจริญ จันทน์เกษร พักอาศัยอยู่ในเรือนหลังเล็ก เมื่อนายบุญยงค์ จันทน์เกษร ถึงแก่กรรม จึงขึ้นมาอาศัยที่เรือนหลังใหญ่ และให้ลูกๆไปพักอาศัยในเรือนหลังเล็กแทน
เรามาดูลักษณะบ้านบอมเบย์หลังนี้กัน
แต่เดิมใช้เป็นสำนักงาน เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง แบ่งอาคารเป็น 2 ส่วน ส่วนของเรือนใหญ่ที่ใช้เป็นสำนักงานและส่วนเชื่อมต่อเรือนเล็กที่ใช้เป็นที่พักคนงานและที่ทานอาหาร โครงสร้างหลังคาเป็นไม้มุงด้วยหลังคาแป้นเกล็ดไม้ทั้ง 2 เรือน รูปทรงปั้นหยามีหลังคาเพิงคลุมระเบียงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีการเปลี่ยนหลังคาใหม่ มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่เมื่อปี พ.ศ. 2515 แต่เดิมส่วนของด้านหน้าอาคารจะหันเรือนไปสู่แม่น้ำวัง ทางทิศตะวันออกเฉลียงเหนือ เพราะมีการชักลากไม้สักที่ล่องมาตามลำน้ำวังขึ้นมาใช้งานและประกอบธุรกิจการทำไม้ ปัจจุบันมองไม่เห็นส่วนของด้านหน้ามากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและมีอาคารอื่นบดบังตัวเรือนด้านหน้าอยู่หลายหลัง เรามักจะมองเห็นบ้านหลังนี้แต่ทางด้านข้างเสมอๆเมื่อขับรถผ่าน
แต่เดิมใช้เป็นสำนักงาน เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง แบ่งอาคารเป็น 2 ส่วน ส่วนของเรือนใหญ่ที่ใช้เป็นสำนักงานและส่วนเชื่อมต่อเรือนเล็กที่ใช้เป็นที่พักคนงานและที่ทานอาหาร โครงสร้างหลังคาเป็นไม้มุงด้วยหลังคาแป้นเกล็ดไม้ทั้ง 2 เรือน รูปทรงปั้นหยามีหลังคาเพิงคลุมระเบียงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีการเปลี่ยนหลังคาใหม่ มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่เมื่อปี พ.ศ. 2515 แต่เดิมส่วนของด้านหน้าอาคารจะหันเรือนไปสู่แม่น้ำวัง ทางทิศตะวันออกเฉลียงเหนือ เพราะมีการชักลากไม้สักที่ล่องมาตามลำน้ำวังขึ้นมาใช้งานและประกอบธุรกิจการทำไม้ ปัจจุบันมองไม่เห็นส่วนของด้านหน้ามากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและมีอาคารอื่นบดบังตัวเรือนด้านหน้าอยู่หลายหลัง เรามักจะมองเห็นบ้านหลังนี้แต่ทางด้านข้างเสมอๆเมื่อขับรถผ่าน
พื้นที่ชั้นล่าง ที่เห็นเป็นโรงจอดรถยนต์ เป็นส่วนต่อเติมขึ้นใหม่ เดิมทีเป็นส่วนเปิดโล่ง หน้าบ้านแต่เดิมเป็นใต้ถุนโล่ง ปรับเปลี่ยนการใช้งานมาเป็นห้องอาหารและห้องครัว มีบันไดขึ้นด้านหน้าอาคาร 17 ขั้น ทำด้วยไม้ราวบันไดไม้ ถัดจากบันได เป็นเฉลียงทางเดินด้านข้างมีราวไม้ตีช่องห่างกั้นแนวเสา ปัจจุบันทำผนังไม้ต่อขึ้นไปเป็นไม้ซี่ระแนงห่างทุกช่องเสา เดินทะลุออกไปถึงส่วนหลังอาคารได้มีหลังคาคลุมและตกแต่งผนังส่วนโค้งใหม่
ภายในอาคารแต่เดิมใช้เป็นห้องสำนักงานของบริษัท ปรับเปลี่ยนการใช้งานมาเป็นห้องรับแขกแทน ผนังห้องชั้นล่างเป็นผนังก่ออิฐมอญก้อนโตก่อหนาหลายชั้นฉาบปูนเรียบทาสี ประตูห้องเป็นประตูบานเฟี้ยมไม้บานทึบไม่มีช่องแสง เหนือผนังก่ออิฐจะเจาะช่องลม 2 ช่องทุกๆช่วงเสาเพื่อระบายอากาศแทน มีบัวปูนปั้นขอบผนังและหัวเสา ฝ้าเพดานโชว์โครงสร้างตงไม้ พื้นไม้ ( ไม่มีฝ้าเพดาน ) ถัดไปด้านหลังจะเป็นห้องเก็บของ ต่อเติมผนังก่ออิฐโชว์แนวและหน้าต่างขึ้นมาใหม่ ห้องด้านขวามือเป็นห้องนอน กั้นผนังและประตูวงกบอลูมิเนียมติดกระจกใสขึ้นใหม่ ด้านหลังเป็นห้องเก็บของและด้านข้างเปิดประตูออกไปสู่ห้องน้ำ มีช่องทางเดินด้านข้าง ผนังตีไม้ซีโปร่งแนวตั้ง กลางเรือนจะมีประตูบานเปิดคู่ลูกฟักไม้ทีบเปิดออกไปสู่เรือนหลังเล็ก โดยเดินลอดใต้บันไดไม้ออกไปสู่ใต้ถุนเรือนหลังเล็กซึ่งเปิดโล่ง ด้านล่างใต้ถุน มีห้องน้ำและห้องครัว หน้าเรือน จะมีบันไดไม้ขึ้นเรือนหลังเล็กอีกบันไดหนึ่ง ซึ่งสามารถเดินเชื่อมต่อไปยังระเบียงด้านหลังชั้นบนของเรือนหลังใหญ่
ภายในอาคารแต่เดิมใช้เป็นห้องสำนักงานของบริษัท ปรับเปลี่ยนการใช้งานมาเป็นห้องรับแขกแทน ผนังห้องชั้นล่างเป็นผนังก่ออิฐมอญก้อนโตก่อหนาหลายชั้นฉาบปูนเรียบทาสี ประตูห้องเป็นประตูบานเฟี้ยมไม้บานทึบไม่มีช่องแสง เหนือผนังก่ออิฐจะเจาะช่องลม 2 ช่องทุกๆช่วงเสาเพื่อระบายอากาศแทน มีบัวปูนปั้นขอบผนังและหัวเสา ฝ้าเพดานโชว์โครงสร้างตงไม้ พื้นไม้ ( ไม่มีฝ้าเพดาน ) ถัดไปด้านหลังจะเป็นห้องเก็บของ ต่อเติมผนังก่ออิฐโชว์แนวและหน้าต่างขึ้นมาใหม่ ห้องด้านขวามือเป็นห้องนอน กั้นผนังและประตูวงกบอลูมิเนียมติดกระจกใสขึ้นใหม่ ด้านหลังเป็นห้องเก็บของและด้านข้างเปิดประตูออกไปสู่ห้องน้ำ มีช่องทางเดินด้านข้าง ผนังตีไม้ซีโปร่งแนวตั้ง กลางเรือนจะมีประตูบานเปิดคู่ลูกฟักไม้ทีบเปิดออกไปสู่เรือนหลังเล็ก โดยเดินลอดใต้บันไดไม้ออกไปสู่ใต้ถุนเรือนหลังเล็กซึ่งเปิดโล่ง ด้านล่างใต้ถุน มีห้องน้ำและห้องครัว หน้าเรือน จะมีบันไดไม้ขึ้นเรือนหลังเล็กอีกบันไดหนึ่ง ซึ่งสามารถเดินเชื่อมต่อไปยังระเบียงด้านหลังชั้นบนของเรือนหลังใหญ่
พื้นที่ชั้นบน ขึ้นจากบันไดไม้ด้านหน้าอาคาร มีประตูบานเปิดคู่ลูกฟักไม้ทึบ มีห้องโถงด้านหน้า 1 ห้องเป็นมุขส่วนหลังคาปั้นหยายื่นออกไป โครงสร้าง เสา คาน ตงและพื้นชั้นบนทั้งหมดทำด้วยไม้สัก ผนังทำด้วยไม้ มีผนังรอบตัวเรือนเป็นช่องหน้าต่างฝาไหล เหนือขึ้นไปเป็นหน้าต่างบานเปิด ลูกฟักไม้ด้านบนทึบด้านล่างเป็นบานกระทุ้งเกล็ดไม้ระบายอากาศ เหนือช่องหน้าต่างจะเป็นช่องลมเกล็ดไม้ติดตายระบายอากาศโดยรอบ ฝ้าเพดานทำด้วยไม้เข้าลิ้นอัดสนิททาสีฟ้า ภายในห้องตั้งโต๊ะหมู่บูชา มีหัวกวางประดับอยู่ 2 หัว และแขวนภาพโบราณเก่าของนายเยมส์หรือนายบุญยงค์ จันทน์เกษร ภาพคนในครอบครัว ชั้นบนมีห้องนอน 2 ห้อง มีช่องทางเดินด้านหน้าห้องนอนทั้ง 2 ข้าง ช่องทางเดินด้านซ้ายมือ มีช่องฝาไหล หน้าต่าง และประตูบานเปิดคู่ออกสู่ระเบียงด้านหน้าตรงช่องบันได จะมีระเบียงหนูไต่ มีระเบียงด้านหน้าเป็น ค.ส.ล.ต่อเติมขึ้นใหม่ ราวระเบียงเป็นเหล็กดัด แต่เดิมเป็นระเบียงด้านหน้าทำด้วยไม้ ใช้สำหรับนั่งชมวิวและสั่งการในการมองเห็นการชักลากท่อนซุงไม้จากลำน้ำแม่วัง อีกฝั่งก็มีช่องทางเดินเหมือนกัน ห้องนอนทั้ง 2 ห้องมีประตูเข้าด้านหน้ามีช่องแสงเหนือประตู มีหน้าต่างเปิดสู่ภายในบ้าน ผนังห้องนอนด้านข้างเป็นผนังไม้ มีหน้าต่างบานเปิดคู่ลูกฟักติดกระจก ห้องนอนมีประตูเปิดออกสู่ระเบียงไม้ด้านหลังทั้ง 2 ห้อง หลังห้องนอนฝั่งขวามือด้านหลังจะเป็นห้องน้ำ กลางเรือนมีช่องทางเดินมีประตูบานเปิดคู่ลูกฟักไม้บานทึบใหญ่กว่าประตูห้องนอน ออกสู่ระเบียงหลังบ้าน ระเบียงทำด้วยไม้ ราวระเบียงเป็นไม้ตีช่องห่างโปร่งมีหลังคาเพิงคลุม ไม่มีฝ้าเพดานชายคา มีบันไดเชื่อมต่อลงไปหาเรือนหลังเล็ก ซึ่งเรือนหลังเล็กด้านหน้าจะเป็นห้องโถงเปิดโล่ง มีผนังระเบียงแบบฝาไหลโดยรอบ มีผนังไม้ปิดทึบด้านฝั่งทิศตะวันตก เรือนหลังเล็กมีห้องนอน 1 ห้องและห้องน้ำ ฝ้าเพดานกระเบื้องแผ่นเรียบบางส่วน ผนังห้องทำด้วยไม้ เสาชั้นล่างเป็นเสาไม้ต้นกลม มีการผุกร่องบางต้น ส่วนเสาไม้ด้านบนเป็นเสาไม้สักเหลี่ยม
พื้นที่โดยรอบบริเวณ ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล และพืชคลุมดิน
รั้วด้านข้างติดถนน เป็นรั้วไม้ ประตูเหล็กโปร่ง มีรั้วก่ออิฐโชว์แนวติดป้ายไม้ชื่อบ้านว่า บ้านบอมเบย์ เลขที่ 123
รั้วด้านข้างติดถนน เป็นรั้วไม้ ประตูเหล็กโปร่ง มีรั้วก่ออิฐโชว์แนวติดป้ายไม้ชื่อบ้านว่า บ้านบอมเบย์ เลขที่ 123
บ้านบอมเบย์ หลังนี้ตั้งอยู่บนถนนวังขวา ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือลำปาง วงเวียนไก่ขาว
เป็นบ้านอีกหลังหนึ่งที่มีอายุถึง 124 ปี และทรงคุณค่ามีประวัติศาสตร์ มีตำนานเล่าขาน ควรค่าแก่การอนุรักษ์เก็บรักษาให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไป
เป็นบ้านอีกหลังหนึ่งที่มีอายุถึง 124 ปี และทรงคุณค่ามีประวัติศาสตร์ มีตำนานเล่าขาน ควรค่าแก่การอนุรักษ์เก็บรักษาให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไป
ขอขอบพระคุณ คุณสมพร จันทน์เกษร ที่เปิดบ้านให้เข้าไปถ่ายภาพและซักถามประวัติข้อมูลของบ้านด้วยครับ
เก็บภาพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2560
ผู้รวบรวมข้อมูลและถ่ายภาพ มนัสพี เดชะ ACLA รุ่น 23 รุ่นเสาเอก
ผู้รวบรวมข้อมูลและถ่ายภาพ มนัสพี เดชะ ACLA รุ่น 23 รุ่นเสาเอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น