วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เมืองลำปาง หรือ มิวเซียมลำปาง


 



พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เมืองลำปาง หรือ มิวเซียมลำปาง คือ 
หนึ่งในต้นแบบของการสร้างสรรค์แหล่งเรียนรู้ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้(Discovery Museum) ประเภทพิพิธภัณฑ์เมือง(City Museum) ในระดับจังหวัดลำปาง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการสร้างโครงข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในภูมิภาค และยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ประเภทอื่นๆ ที่มีอยู่ทั้งในจังหวัดลำปางและจังหวัดอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง

มิวเซียมลำปาง จัดแสดงนิทรรศการชุด คน-เมือง-ลำปาง โดยนำเสนอผ่านหัวข้อหลักๆ ว่าด้วยเรื่อง “คน” ที่มีบทบาทสำคัญปรากฎอยู่ในเรื่องราวของจังหวัดลำปาง โดยเฉพาะผู้มีส่วนสำคัญต่อประวัติศาสตร์ โบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หัวข้อที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของ “เมือง” ลำปาง ที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับนครลำปางตั้งแต่อดีตจนถึงลำปางในอนาคต การเปลี่ยนผ่าน และเหตุการณ์สำคัญในอดีตส่งผลอย่างไรมาถึงภาพของลำปางในยุคปัจจุบัน และสุดท้ายในหัวข้อ “ลำปาง” มิวเซียมได้สำรวจและเก็บรวบรวมทั้งความเหมือนและแตกต่างทุกๆ ด้าน เพื่อตามหา ลำปางแต้ๆ ทุกซอกทุกมุมจากทั้ง 13 อำเภอ นำมาจัดแสดงด้วยรูปแบบที่ทันสมัยผสมผสานเทคโนโลยีแบบอินเตอร์แอ๊กทีฟ โดยแบ่งออกเป็น 16 ห้องนิทรรศการ ดังนี้

  • ห้องที่ 1 ก่อร่างสร้างลำปาง(Building Lampang City)  จาก 500,000 ปีที่แล้ว ถึงปัจจุบัน ใครบ้าง? ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาเมืองลำปาง กลุ่มคนเหล่านั้นทำให้เมืองลำปางแต่ละยุคเป็นอย่างไร?

  • ห้องที่ 2 เปิดตำนาน อ่านลำปาง (Legends of Lampang) ลำปาง อุดมด้วยตำนาน ทั้งตำนานเมือง ย่าน วัด วีรบุรุษ แต่ละตำนาน ล้วนมีความหมาย และทิ้งเบาะแสให้ตีความ

  • ห้องที่ 3  ผ่อผาหาอดีต (Back to the Past) ฟอสซิลมนุษย์เกาะคา (โฮโม อิเรคตัส) อายุอย่างน้อย 500,000 ปี ภาพเขียนสีและหลุมฝังศพอายุกว่า 3,000 ปี ที่ช่องประตูผา บ่งชี้ว่า...พื้นที่ลำปางเหมาะสมสำหรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่บรรพกาล

  • ห้องที่ 4  ประตูโขงโยงรากเหง้า (Pratu Khong, Roots of Lampang) ลอดซุ้มประตูโขง วัดพระแก้วดอนเต้าเข้าสู่ “เขลางค์นคร” เมืองลำปางรุ่นแรก ซึ่งเป็นเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีอายุกว่า 1,300 ปี บ้านพี่เมืองน้องกับเมือง “หริภุญชัย” ของพระนางจามเทวี ธิดาแห่งรัฐละโว้

  • ห้องที่ 5  สี่สหายฉายประวัติ (Fantastic Four of Lampang’s History) เดินผ่านประตูม้า เข้ามาฟังสี่สหายแห่งวัดปงสนุก ช้าง นาค สิงห์ อินทรี บอกเล่าเรื่องราวการผจญภัย และการย้ายจากเขลางค์นคร มาสร้างเมืองลำปางรุ่นที่สองเรียกว่า “เวียงลคอร” (เวียงละกอน) ภายใต้อำนาจของล้านนา พม่า และอยุธยา

  • ห้องที่ 6  แง้มป่องส่องเวียง (A Look into Lampang) แง้มหน้าต่างเรือขนมปังขิง ส่องดูความเป็นไปของ “นครลำปาง” เมืองลำปางรุ่นที่สาม ซึ่งอยู่ในยุครัตนโกสินทร์ การค้าเฟื่องฟู คลาคล่ำไปด้วยพ่อค้าต่างชาติ พม่า ไทใหญ่ จีน ฝรั่ง เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าไม้ที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ

  • ห้องที่ 7  ไก่ขาวเล่าวันวาน (Chicken Stories) สัญลักษณ์ของเมืองลำปาง คือ “ไก่ขาว” สารพัดไก่ในลำปาง จะมาบอกเล่าพัฒนาการด้านต่างๆ ของลำปางตั้งแต่ปลายยุคนครลำปางจนถึงปัจจุบั

  • ห้องที่ 8  จุดเปลี่ยนเมืองลำปาง (Turning Points of Lampang) อดีต-ปัจจุบัน..”คน” หลากหลายกลุ่มผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาแสดงบทบาทในการเปลี่ยน “เมือง” แต่ละยุค ชาวลั๊วะ ยวน (ล้านนา) พม่า และชาวบางกอก สร้างจุดเปลี่ยนอะไรให้เมืองลำปางบ้าง

  • ห้องที่ 9 รางเหล็กข้ามเวลา (Railway Story) รางรถไฟ ไม่ใช่เพียงเส้นทางคมนาคมขนส่งแบบใหมี่สะดวกรวดเร็ว แต่รางเหล็กนี้ได้นำพาสิ่งใหม่ๆ เข้ามามากมาย สร้างความเปลี่ยนแปลง ให้เมืองลำปางแบบ “พลิกโฉม”

  • ห้องที่ 10  รถม้าพาม่วน (Lampang on a Carriage) ไม่ใช่แค่รถรับจ้าง แต่คือ “รถม้าลำปาง” ม่วนอ๊กม่วนใจ๋ ไปกับการนั่งรถม้าเที่ยวชมเมืองลำปาง ผ่านเมืองเก่า วัดเก่า ย่านการค้าโบราณ และสถานที่สำคัญของเมืองลำปาง

  • ห้องที่ 11 วัดพม่าหน้าตาอินเตอร์ (Myanmar Temples, International Style) ยุคอาณานิคม พม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ชาวอังกฤษ พม่า-ไทยใหญ่ เข้ามาทำกิจการค้าไม้ในลำปาง ครั้งนั้น คหบดีชาวพม่าต่างสร้างวัดไว้ที่นี่มากมาย จนลำปางมีวัดพม่ามากที่สุดในประเทศไทย และไม่ใช่แค่วัดพม่า แต่เป็น “วัดพม่าผสมฝรั่ง” ซึ่งมีเฉพาะที่ลำปาง

  • ห้องที่ 12 พอดีพองาม อารามลำปาง (Simple Temple of Lampang) จำลองภูมิจักรวาลตามความเชื่อทางพุทธศาสนาลงบนโลกมนุษย์..เตี้ยแจ้ กะทัดรัด พอดีพองาม พอสมพอควรกับการใช้สอยจริง..สอดคล้องกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ.. ทั้งหมดนี้ คือ บุคลิกของ “วัดเมืองลำปาง”

  • ห้องที่ 13  คมปัญญา (Wisdoms of Lampang) ไม่รู้ภาษาอะไร ไม่ได้มีไว้พูดกับคน? เครื่องขยายเสียงชั้นดี ไม่ต้องมีปลั๊กเสียบ...ป่าทั้งป่า กว้างไม่กี่วา หนาไม่กี่ศอก...ร่วมหาคำตอบ และ อึ้ง ทึ่ง ไปกับภูมิปัญญาทั้งศาสตร์และศิลป์ของชาวลำปาง

  • ห้องที่ 14 ซับป๊ะเสียงสำเนียงลำปาง (Dialects of Lampang) ภาษาลำปางมีเอกลักษณ์เฉพาะตน คนลำปางไม่ได้ “อู้กำเมืองล้านนา” แต่ “อู้กำเมืองลำปาง” แม้แต่กำเมืองลำปางเอง ในแต่ละอำเภอก็มีสำเนียงและศัพท์บางคำที่แตกต่างกัน

  • ห้องที่ 15  ลำปางมีดีเมืองนี้ห้ามพลาด (Tourism in Lampang) รวบรวมของดีและสถานที่ท่องเที่ยวในลำปางอันหลากหลาย พิเศษไม่เหมือนใคร สะท้อนออกมาในรูปแบบของของที่ระลึกและสิ้นค้านานาประเภทให้เลือกซื้อหา

  • ห้องที่ 16 เนี๊ยะ...ลำปาง (This is Lampagn) บทสรุปทิ้งท้ายของการเยี่ยมชม..ร่วมแสดงความคิดเห็น เมื่อรู้จักลำปางแล้วบอกได้ไหม “คุณชอบอะไรในลำปาง” 

ข้อมูลจาก :   https://www.museumthailand.com/th/museum/Museumlampang








วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วัดพระธาตุลำปางหลวง ลำปาง


ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวันหรือบางฉบับเรียกบ้านลัมพกลานะ (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวาย แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. 2275 นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศ เจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เจ้าเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน
พิกัด https://goo.gl/maps/KVVDau3ZhnVkL2KQ8





วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ถนนคนเดิน กาดกองต้า ประวัติความเป็นมา "กาดกองต้า"

ประวัติความเป็นมา "กาดกองต้า"
k1k2
       ประวัติความเป็นมาของย่านการค้าที่รุ่งเรืองในอดีต ตลาดจีน ย้อนอดีตตลาดจีนลำปาง ลำปางในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการต้าทางน้ำที่รุ่งเรือง เป็นเมืองท่าที่สำคัญเชื่อมต่อศูนย์กลางการค้าเมืองปากน้ำโพ (นครสวรรค์) กับภาคเหนือตอนบน เป็นแหล่งกระจายสินค้าเข้าออก แหล่งชุมชนเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองว่า ตลาดจีนหรือ ตลาดเก่า แม่น้ำวังเป็นเส้นแม่น้ำสายสำคัญของประวัติศาสตร์ เป็นท่าล่องซุงไม้สักของคนต่างชาติที่ได้รับสัมมปทานทำกิจการป่าไม้ทำรายได้มากมาย เป็นแหล่งสะสมทุนหลักของพ่อค้าในลำปาง อดีตการคมนาคมไม่สะดวก การทำมาหากินของคนชาวลำปางอยู่ในระบบเศรษฐกิจเพื่อยังชีพ มีการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง ผลผลิตส่วนใหญ่เป้นพืชไร่ ผลผลิตจากป่า การค้าระหว่าง
เมืองในเขตภาคเหนือด้วยกันเป็นการค้าโดย พ่อค้าวัวต่าง ซึ่งเป็นชาวไร่ชาวนาในหมู่บ้านรวบรวมผลผลิต เช่น เมี่ยงยาเส้น ครั่ง ของป่า ฯลฯ ขายให้แก่พ่อค้า ในเมือง ขากลับนำสินค้าที่ต้องการมาขายในหมู่บ้าน เช่น เกลือ เครื่องเหล็กปลาแห้ง ฯลฯ
k3
       การค้าทางไกลทางบกเป็นการค้าระหว่างเมืองไกลชายแดน เช่น พม่า ยูนนาน รัฐฉาน เมืองมะละแหม่ง และเชียงตุง ส่วนใหญ่ เป็นพ่อค้าพื้นเมือง ทั้งพม่า ไทยใหญ่ และจีนฮ้อ มีพ่อค้าวัวต่างพื้นเมืองบ้าง พ่อค้าวัวต่างส่วนใหญ่เป็นการค้าเชื่อมระหว่าง ลำปาง พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์ การค้าทางบกดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. 2372 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2420 เส้นทางการค้าได้เปลี่ยนจาก ทางบำเป็นการค้าระหว่างกรุงเทพฯเชียงใหม่ มีศูนย์กลางการค้าอยู่ที่เมืองปากน้ำโพ เนื่องจากการทำป่าไม้สักส่งออก เปลี่ยนจากเส้นทางแม่น้ำสาละวินมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา (ปิง วัง ยม น่าน) เส้นทางบกค่อย ๆ ลดความสำคัญลงไป แม่น้ำวังจึงเป็นแม่น้ำสายประวัติศาสตร์
การล่องซุงไม้สักออกจากลำปางเพื่อรวมกันที่ปากน้ำโพผูกเป็นแพซุงล่องสู่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องหลายสิบปีของบริษัททำไม้ฝรั่ง
k4
       การก่อตัวของชุมชนตลาดจีน ลำปางเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความเป็นมามากกว่าพันปี นอกจากคนเมืองยังมีคนไทลื้อ อพยพมาจากเมืองเชียงแสน พม่ามาทำป่าไม้และค้าขาย ชาวอังกฤษได้สัมปทานป่าไม้ ขมุมารับจ้างแรงงาน ส่วนใหญ่จะมารวมตัวอยู่บริเวณ ตลาดจีนเพราะเป็นแหล่งจอดท่าเรือ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศบริเวณแม่น้ำวังมีเกาะกลางแม่น้ำ(ที่ตั้งบริเวณวัดเกาะในปัจจุบัน) กั้นแบ่งแม่น้ำวังออกเป็นสองสาย ด้านที่ติดต่อกับฝั่งชุมชนตลาดจีน เป็นช่องแคบและตื้นเหมาะเป็นฯที่จอดเรือ จังกลายเป้ฯแหล่งชุมชนมีคนมาขนถ่ายสินค้าขึ้นลง ยังเป็นที่จอด กองคาราวาน (กองเกวียน)
จากต่างแดนมาจอดเพื่อรอรับสินค้านำไปขายอีกต่อหนึ่ง ประการสำคัญเป้ฯท่าน้ำรวบรวมซุงจากป่าไม้ต่าง ๆ เพื่อนำล่องปากน้ำโพต่อไป จากปัจจัยดังกล่าว ตลาดจีนเดิมเป็นท่าจอดเรือขนถ่ายสินค้าและเป็นท่าล่องซุงพ่อค้าส่วนใหญ่ จะขึ้นล่องกับเรือ อาศัยเพิงปลูกค้าขายและนอนพักชั่วคราว บริเวณนี้เป็นที่ตั้ง สำนักงานป่าไม้บริษัทตะวันตกต่าง ๆ ชาวพม่าที่เป็นเฮดแมนต้องทำการควบคุมการล่องซุง ดูแลกิจการจังมีการปลูกสร้างอาคารขขึ้นมาเพื่อเป็นสำนักงานเป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง และใช้เป็นที่พักอาศัยรับรองตัวแทนบริษัททำไม้ของชาวต่างชาติมาตรวจงานป่าไม้ พร้อมกับ
ต้องอำนวยความสะดวกมีสินค้าฝรั่งต่าง ๆ ขายให้ จึงเป็นแหล่งการค้าขายในตัวมันเอง ช่วงแรก ๆ พ่อค้ามักจะเป็นชาวไทใหญ่ พม่า เงี้ยว และพ่อค้าวัวต่าง ซึ่งมีฐานะจากการทำงานให้บริษัทป่าไม้ฝรั่งพร้อมกบการค้าขาย ต่อมาเมื่อการคมนาคมทางน้ำเริ่ม มีวามสำคัญพ่อค้าคนจีนเริ่มเดินทางเข้ามาพร้อมเรือสินค้า เป็นกุลีรับจ้าง มาพบทำเลที่เหมาะประกอบกับความขยันขันแข็ง มีหัวการค้าที่ดีกว่าจึงเริ่มเข้าครอบงำ มีบทบาททางการค้า แย่งเบียดเบียนชาวไทใหญ่พม่าออกไปจากตลาดการค้า
k5k6
       พ่อค้าจีนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีนไหหลำและจีนแคระนิยมถักผมเปียยาวเป็นคนจีนอพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อมีช่องทางทำมาหากินได้ชักชวนกันมาอยู่มากขึ้น และครอบงำคนพื้นเมืองตั้งเดิมเกือบหมด มองไปทางไหนก็มีแต่คนจีนทำการค้าขายจึงเรียกว่า ตลาดจีน หรือเปลี่ยนเป็นตลาดเก่า สมัยนิยมไทยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นยุคทองของชาวจีนอีกครั้ง เมื่อบทบาททางการเดินทางรถไฟมาถึงลำปางครั้งแรก เมื่อ 1 เมษายน 2459 เป็นการเปิดด่านเชื่อมระหว่างลำปางกับเมืองเหนือผนวกควบกับส่วนกลางกรุงเทพฯเป็นผลกระทบต่อสังคามเศาษฐกิจวิถีชีวิตของคนลำปางที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างมากและต่อเนื่องจวบจนปัจจุบันกาดกองต้าย้อนอดีตตลาดจีนลำปาง ลำปางในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการต้าทางน้ำที่รุ่งเรือง เป็นเมืองท่าที่สำคัญเชื่อมต่อ ศูนย์กลางการค้าเมืองปากน้ำโพ นครสวรรค์)
กับภาคเหนือตอนบน เป็นแหล่งกระจายสินค้าเข้าออก แหล่งชุมชนเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองว่า ตลาดจีนหรือ ตลาดเก่า แม่น้ำวังเป็นเส้นแม่น้ำสายสำคัญของประวัติศาสตร์ เป็นท่าล่องซุงไม้สักของคนต่างชาติที่ได้รับสัมมปทานทำกิจการป่าไม้ทำรายได้มากมายเป็นแหล่งสะสม ทุนหลักของพ่อค้าในลำปางอดีตการคมนาคมไม่สะดวก การทำมาหากินของคนชาวลำปางอยู่ในระบบเศรษฐกิจเพื่อยังชีพ มีการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง ผลผลิตส่วนใหญ่เป้นพืชไร่ ผลผลิตจากป่า การค้าระหว่างเมืองในเขตภาคเหนือด้วยกันเป็นการค้าโดย พ่อค้าวัวต่าง ซึ่งเป็นชาวไร่ชาวนาในหมู่บ้านรวบรวมผลผลิต เช่นเมี่ยง ยาเส้น ครั่ง ของป่า ฯลฯ ขายให้แก่พ่อค้าในเมือง ขากลับนำสินค้าที่ต้องการมาขายในหมู่บ้าน เช่น เกลือ เครื่อง
เหล็ก ปลาแห้ง ฯลฯ
k7
       การค้าทางไกลทางบกเป็นการค้าระหว่างเมืองไกลชายแดน เช่น พม่า ยูนนาน รัฐฉาน เมืองมะละแหม่ง และเชียงตุง ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าพื้นเมือง ทั้งพม่า ไทยใหญ่ และจีนฮ้อ มีพ่อค้าวัวต่างพื้นเมืองบ้าง พ่อค้าวัวต่างส่วนใหญ่เป็นการค้าเชื่อมระหว่าง ลำปาง พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์ การค้าทางบกดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. 2372 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2420 เส้นทางการค้าได้เปลี่ยนจากทางบำ เป็นการค้าระหว่างกรุงเทพฯ เชียงใหม่ มีศูนย์กลางการค้าอยู่ที่เมืองปากน้ำโพ เนื่องจาก การทำป่าไม้สักส่งออก เปลี่ยนจากเส้นทางแม่น้ำสาละวินมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา (ปิง วัง ยม น่าน) เส้นทางบกค่อย ๆ ลดความสำคัญลงไป แม่น้ำวังกลายเป็นแม่น้ำสายประวัติศาสตร์ การล่องซุงไม้สักออกจากลำปางเพื่อรวมกันที่ปากน้ำโพผูกเป็นแพซุงล่องสู่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง
หลายสิบปีของบริษัททำไม้ฝรั่ง เมื่อทางรถไฟสายเหนือมาถึงลำปางและขยายต่อไปถึงเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2464 การคมนาคมทางบกสะดวกขึ้น ทางน้ำค่อย ๆ ลดบทบาทหมดความสำคัญลงตามลำดับ เป็นเหตุให้แหล่งชุมชนการค้าย่อย ๆย้ายไปบริเวณสถานีรถไฟลำปาง สบตุ๋ย ในเวลาต่อมาประจวบ กับการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดลำปาง เพื่อเป็นทางผ่านไปพม่า เข้ายึดบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะย่านการค้าตลาดจีน ด้วยเหตุต้องการยึดยุทธปัจจัยทำให้ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ในชุมชนตลาดจีนของคนเชื้อสายจีน พม่า และฝรั่งต้องอพยพ หนีภัยสงคราม การไม้ต้องยุติลงโดยปริยาย ชุมชนตลาดจีนจากเดิมเป็นแหล่งศูนย์กลาง การค้าทางเรือที่เจริญค่อย ๆ ลดบทบาททางการค้า
และกลายมาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน
k8
       แม้ว่าประวัติศาสตร์ผ่านไป แต่คุณค่าของชุมชนที่เรียกว่า ตลาดจีน ยังคงปรากฏริ้วรอยความเจริญ การอนุรักษ์สภาพอาคาร ร้านค้า ในอดีตที่ยังคงคุณค่าของสถาปัตยกรรม วัฒนธรรมตามแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมตามเชื้อสายของผู้เป็นเจ้าของที่ปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัยและประโยชน์ในการค้า ฝีมือที่แสดงออกได้บ่งชี้ความสามารถ ในเชิงศิลปะและ ความรุ่งเรืองในอดีตที่ผ่านมา
       กาดกองต้าวันนี้ไม่ธรรมดา เอ่ยคำว่าถนนคนเดินทุกคนก็จะนึกภาพออกประมาณถนนคนขายของที่จัดช่วงหัวคำมีร้านค้าชาวบ้านบ้าง พ่อค้าแม่ค้ามืออาชีพบ้าง มาตั้งร้านขายของกัน ที่สำคัญต้องมีคนเดินขวักไขว่ไปมาด้วยถึงจะเรียกถนนคนเดินได้ (อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว) ส่วนบางที่จะมีดนตรีเปิดหมวก หรือศิลปินอิสระก็ย่อมได้ ถนนคนเดินส่วนใหญ่จะมีทางภาคเหนือ เช่นถนนคนเดินเชียงใหม่ ถนนคนเดินปาย ถนนคนเดินแม่ฮ่องสอน ถนนคนเดินเชียงราย ส่วนลักษณะเดียวกันแต่เป็นภาคกลาง เขาจะเปลี่ยนไปเป็นตลาดน้ำ เช่นตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตลาดเก่าร้อยปี สองร้อยปีอะไรประมาณนี้ จังหวัดลำปางเองเขาก็มีถนนคนเดินเช่นกันและมีมาหลายปีแล้วด้วย วันนี้ Hotsia.com เที่ยวสะใจตามแบบฉบับของเราขอแนะนำถนนคนเดินกาดกองต้า แห่งเมืองรถม้าจังหวัดลำปาง ว่ามีอะไรดีๆที่ไม่ธรรมดาบ้างกาด
กองต้าเป็นถนนคนเดินเปิด เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ ช่วงเวลาประมาณหกโมงเย็นถึงสี่ทุ่ม ช่วงเวลาที่คนเยอะสุดคือสองทุ่ม ช่วงสองทุ่มนอกจากคนเยอะแล้วยังซื้อของด้วย อันนี้คนขายบอก ก่อนหน้าและหลังก็เดินดูของอย่างเดียวไม่ซื้อ ท่าจะจริงๆ เพราะผมไปนั่งสังเกตการณ์มาหลายวัน กาดกองต้าแห่งนี้เมื่อสองปีที่แล้วผมเคยมาเดินแล้วครั้งหนึ่งในครั้งนั้นผู้คนยังโหรงเหรง ชาวบ้านหน้าบ้านใครก็เอาของมาขายเป็นของแบบทางเหนือ พวกงานฝีมือ ขนม และอาหารถนนยังดูมืดๆ ใช้ตะเกียงจุดตามหน้าบ้านก็มี สองปีที่แล้วนักท่องเที่ยวน้อยมาก เดินไปเดินมาเจอแต่คนขายของ ผ่านมาสองปีกาดกองต้าเป็นถนนคนเดินที่ผมชื่นชอบอย่างมาก เพราะเห็นความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังของชาวลำปางจัดระเบียบอย่างดี ยิ้มแย้มแจ่มใส บริการนักท่องเที่ยวอย่างเป็นกันเอง สองข้างทางที่ขายของส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน
จริงๆ ที่หาของมาขายทั้งของกิน งานฝีมือ ขนมโบราณ ทำให้ถนนคนเดินแห่งนี้มีเสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นทุกวันทุกวันอย่างต่อเนื่องคนที่มาเดินถนนคนเดินกาดกองต้าไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมากนักส่วนใหญ่ก็คนพื้นที่หรือคนต่างอำเภอต่างจัดหวัดใกล้เคียง นักท่องเที่ยวจะมีมาก็ช่วงวัดหยุดยาวๆเท่านั้น ช่วงวันหยุดยาวๆอย่างปีใหม่ที่ผ่านมาที่กาดกองต้าคนมากมายถึงขนาดต้องค่อยๆไหลกันไปเลยทีเดียว ส่วนวันเสาร์อาทิตย์แบบธรรมดาๆ ที่ผมไปเที่ยวคนกำลังดีไม่มากไม่น้อย คนลำปางมีที่เดินเล่น พักผ่อนหย่อยใจแค่ที่เดียวคือที่นี่ ช่วงหัวค่ำเสาร์อาทิตย์ก็มาเดินเล่น เดินเล่นจริงๆ ซื้อของกินบ้าง พบปะทักทายกันเป็นกิจวัตรประจำเสาร์อาทิตย์ที่ต้องมาเดินที่กาดกองต้าแห่งนีกาดกองต้ามี
ระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เขามีคณะกรรมการกาดกองต้าดูแลกันเอง กรรมการก็เป็นคนที่ขายของ และเป็นคนที่มีีบ้านอยู่แถวนั้น เขาจะมีวิทยุสื่อสารเอาไว้ ว. ติดต่อกัน ถนนคนเดินจะมีหน่วยรักษาความปลอดภัย ดูแลอย่างดี ถึงแม้กาดกองต้าไม่มีห้องน้ำสาธารณะให้เข้า แต่เราสามารถขอร้านที่เปิดของฝั่งทางเข้าทำธุระส่วนตัวได้ เขาเต็มใจให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ กาดกองต้ามีที่บริการฝากรถด้วย ถนนคนเดินกาดกองต้า มีความยาวประมาณ30 เมตรผมประมาณเองนะครับ ผมเองได้ลองเดินตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดถนน และถ่ายคลิปวีโอมาฝากกันด้วย เดินแบบธรรมดาๆเร็วนิดๆ ใช้เวลาตั้งแต่ต้นจนสุดถนนประมาณ 10 นาที หากเดินดูของไปด้วยก็ใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที กาดกองต้า
วันนี้ที่ไม่ธรรมดาอีกต่อไป เหมือนสองปีก่อนนี้ เพราะผู้คนลำปางมีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างแรก ถ่ายรูปร้านไหนๆยิ้มแย้มแจ่มใสทุกร้าน ทักทายร้านไหนนั่งคุยกันอย่างกันเอง ถามอะไรคุยอะไรบริการอย่างดีเยี่ยม นักท่องเที่ยวหากมาถึงกาดกองต้าจะได้รับความอบอุ่นอย่างบอกไม่ถูก และนี่คือที่ผมใช้หัวเรื่องว่า " กาดกองต้าวันนี้ที่ไม่ธรรมดา" คงไม่เกินเลยไปมากนัก ไม่รู้หากคนลำปางมาอ่าน จะรู้สึกเขินๆไหม สำหรับผมกาดกองต้าคือถนนคนเดินที่สุดแห่งหนึ่ง

อาคารเก่าในกาดกองต้า

อาคารฟองหลี (สร้างในช่วงปี  พ.ศ.  ๒๔๓๔  -  ๒๔๔๔)  เข้มขรึม  สุดคลาสสิก

       อาคารสองชั้นตรงหัวมุมถนนตลาดเก่านี้  ยกพื้นสูงจากถนนประมาณ  ๑  เมตร  กว้าง  ๑๖  เมตร  ลึกราว  ๑๐  เมตร  หลังคาจั่วตัดขวางแบบจีน  ชั้นบนเป็นห้องนอนพร้อมกับมีระเบียงและชายคาด้านหน้าถูกแต่งเติมเพิ่มเสน่ห์ด้วยไม้สักฉลุลวดลายโปร่ง เสาไม้รับระเบียงเรียงรายตรงทางเดินด้านล่างเป็นผลมาจากอิทธิพลตะวันตกที่แพร่หลายเข้ามาในสมัยนั้นขณะเดียวกัน  บานประตูชั้นบนและชั้นล่างก็กลับเป็นบานเฟื้ยมลูกฟักไม้สักแบบจีน  การตกแต่งทางเข้าด้านหน้าทำอย่างวิจิตร  เหนือประตูเป็นช่องประดับไม้ฉลุลวดลายพรรณพฤกษาอ่อนช้อยแปลกตารูปครึ่งวงกลม  ค้ำยันระหว่างพื้นชั้นสองและเสารายระเบียงด้านหน้าฉลุประดับตกแต่งเสาเม็ดเล็กๆ  ทแยงมุมนี่เองที่ทำให้ น. ณ  ปากน้ำ  ชื่นชมอาคารฟองหลีว่าศิลปะลายฉลุแบบขนมปังขิงฝีมือประณีตมาก  โดยเฉพาะลายเท้าแขนตรงมุมหัวเสาและลายช่องลมโค้งของประตูซึ่งแปลกกว่าที่อื่น น่าสังเกตว่า  งานไม้อันชวนตะลึงพรึงเพริดทั้งหมดของอาคารฟองหลีล้วนไม่มีการทาสี  บ่งบอกถึงความเป็นอาคารอิฐผสมไม้ในยุคแรกๆ  ที่เรือนขนมปังขิงแพร่หลายเข้ามาในปลายสมัยรัชกาลที่  ๕  คาบเกี่ยวต้นรัชกาลที่  ๖  ซึ่ง  น.  ณ  ปากน้ำ  ให้รายละเอียดไว้ใน  “แบบแผนบ้านเรือนในสยาม”  ว่า  อาคารในยุคนี้หน้าจั่วจะไม่มีการฉลุอย่างหรูหรา  มีแต่ครีบหลังคาบกับลายฉลุใต้มุมแหลมของจั่ว  มีช่องลมเหนือหน้าต่างโค้ง  และบางทีก็มีกันสาด  เสาที่มุขหรือเฉลียงจะเป็นเสากลมโดนกลึงอย่างงดงาม  บางแห่งมีทวยหูช้างใต้ชายคา  หรือทำเป็นแบบทวยหูช้างอยู่ตรงมุมหัวเสากับคานข้างบน ด้านผนังอาคารเป็นแบบผนังก่ออิฐรับน้ำหนัก  หนาราว  ๔๐  เซนติเมตร  มีการเสริมบัวหงายแบบฝรั่งคาดระหว่างชั้นบนและชั้นบนล่างภายนอกอาคาร  ขอบหน้าต่างมีการทำคิ้วก่อบัวเป็นลายปูนปั้นแบบตะวันตกไว้เหนือหน้าต่างเพื่อกันน้ำฝนตกหยดย้อย  หน้าต่างมีบานเกล็ดไม้ให้ลมเข้า  โดยสามารถเปิดบานกระทุ้งหรือเปิดทั้งหมดได้ตลอดแนวเหมือนบานประตู  มีการใช้บานพับ  กลอน  และเหล็กเส้นกับประตูหน้าต่างอันเป็นวัสดุที่นำมาใช้เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่  ๕  ส่วนการยึดไม้ใช้ระบบเดือยและสลัก  ทั้งยังสำรวจพบว่ามีการนำตะปูจีนมาใช้ด้วยนับเป็นการผสมกลมกลืนกันระหว่างศิลปะตะวันตกและตะวันออกได้อย่างน่าชมเหลือเกิน ผู้สร้างความงดงามให้อาคารฟองหลีชื่อ  “จีนฟอง”  หรือเจ้าสัวฟอง  ผู้ซึ่งได้รับสัมปทานป่าไม้  ทั้งยังเป็นเจ้าภาษีนายอากรฝิ่นและสุราของเมืองลำปาง  นับเป็นชาวจีนที่มีฐานะดีที่สุด  เจ้าสัวฟองยังสนิทสนมกับเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต  เจ้าผู้คลองนครลำปางองค์สุดท้าย  ซึ่งได้ตั้งนามสกุลให้เจ้าสัวฟองว่าฟองอาภา
       อาคารฟองหลีเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนในปี พ.ศ. ๒๕๓๗  เมื่อหน้าจั่วด้านทิศตะวันตกพังทลายลงมา  ทางจังหวัดจึงได้มีหนังสือเตือนให้ซ่อมแชม  และในที่สุดก็มีคำสั่งรื้อถอนภายใน  ๗  วัน  แม้เจ้าของอาคารในขณะนั้นมีความคิดที่จะอนุรักษ์อาคารแห่งนี้ไว้  หากแต่ก็ต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมาก  เพราะนี่ไม่ใช่แค่งานก่อสร้างธรรมดาว่าเปรียบได้กับการบูรณะศิลปสถาปัตยกรรมเลยทีเดียว หากเจ้าสัวฟองคือผู้รังสรรค์อาคารฟองหลีในอดีต  ก็อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่ยึดโยงสายใยระหว่างอดีตกับปัจจุบันไม่ให้ตกหล่นไปอย่างน่าเสียดาย  คือกิติศักดิ์  เฮงษฎีกุล  เจ้าของอาคารฟองหลีคนปัจจุบันที่ร่วมอนุรักษ์ไว้  ๓  คูหา  และทายาทตระกูล “สุรวิชัย”  อนุรักษ์ไว้ ๑ คูหา  ทั้งนี้  กิติศักดิ์ยังได้สันนิษฐานว่าอาคารแห่งนี้น่าจะถูกสร้างขึ้นช่วงปี  พ.ศ. ๒๔๓๔ – ๒๔๔๔  เนื่องจากระหว่างการบูรณะในปี  พ.ศ. ๒๕๓๘  ได้มีการพบตราของบริษัทบอมเบย์เบอร์มาบนหัวเสาไม้ของอาคาร  ซึ่งบริษัทดังกล่าวเข้ามาตั้งสาขาในจังหวัดลำปางเมื่อปี พ.ศ.  ๒๔๓๔
หลังจากระดมทีมงานเก็บข้อมูลทางกายภาพ  พร้อมทั้งคัดลอกแบบรายละเอียดและเก็บข้อมูลสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแล้วเสร็จ  การซ่อมแซมอาคารจึงดำเนินไปอย่างรอบคอบ  โดยใช้เวลาถึง ๒ ปีในอันที่จะประคับประคองอาคารอันปี่ยมเสน่ห์ไม่ให้ร่วงโรยไปตามกาลเวลา  กระทั่งกลับมาอวดความงามได้อีกครั้ง  ท้งยังได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ปี  ๒๕๕๑  ประเภทอาคารพาณิชย์  จากสมาคมสถาปนิกสยาม  ในพระบรมราชูปถัมภ์
ทุกวันนี้  อาคารฟองหลีที่มี ๔ คูหา  มูลนิธินิยม  ปัทมะเสวีเปิด  ๒  คูหาเป็นศูนย์การเรียนรู้ปัทมะเสวีเพื่อให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็กๆ  และชาวลำปาง  โดยมีห้องสมุดและมีการกำหนดจัดกิจกรรมที่น่าสนใจอยู่เนืองๆ สร้างชีวิตชีวาให้อาคารเก่าแก่แห่งนี้ได้ทำหน้าที่รับใช้ชุมชน  เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนได้อย่างแยบยลและร่วมสมัย

บ้านคมสัน (สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๖๐) เมื่อตะวันตกพบตะวันออก

       ถัดจากอาคารฟองหลีมาไม่ไกล  บ้านหลังใหญ่โตสีเหลืองโดดเด่นนั้นคือ บ้านคมสัน  ช่วงฤดูหนาว ริมรั้วยาวเหยียดจะสะฟรั่งไปด้วยดอกพวงแสดงามตายิ่งนัก  ผู้เป็นเจ้าของรุ่นแรกคนตลาดจีนรู้จักกันดีในชื่อป๋าน้อย-ย่าลางสาด คมสัน  บ้านคมสันเป็นบ้านปูนหลังแรกในย่านนี้ สร้างขึ้นช่วงเวลาเดียวกับสะพานรัษฎาภิเศก  คือในปี พ.ศ. ๒๔๖๐  ซึ่งป๋าน้อยได้เพื่อนฝรั่งจากบริษัททำไม้ช่วยออกแบบให้ แล้วใช้ช่างชาวเซี่ยงไฮ้ที่ขึ้นชื่อเรื่องฝีมือทางเชิงช่างมาก่อสร้าง ด้านวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ  นำมาจากกรุงเทพฯ  บรรทุกมากับรถไฟและเรือกลไฟ
       ประตูรั้วที่เปิดอยู่เผยอาณาบริเวณด้านในอันกว้างขวาง  บ้านคมสันหลังใหญ่โตได้กลิ่นอายแบบฝัร่งชัด  เป็นเรือนปั้นหยาจั่วตัดปลาย ๔ มุข  อันเป็นเรือนปั้นหยาที่มีการพัฒนาขึ้นมา  โดยเป็นกลุ่มที่มีการตกแต่งมากที่สุดในบรรดาเรือนปั้นหยาทั้งหมด  นิยมกันมากในช่วงสมัยรัชกาลที่  ๗-๘  เดิมทีตัวบ้านทาสีเทาอ่อน  หลังคามุงกระเบื้องสีแดง  แต่ทุกวันนี้เมื่อตกทอดมาถึงรุ่นหลาน  คือ  ขวัญพงษ์  คมสัน  ได้ปรับปรุงซ่อมแซมทาสีเหลืองจนสวยสะดุดตา

       บ้านคมสันเป็นอาคารปูนชั้นเดียว ยกใต้ถุน  บางส่วนของใต้ถุนมีการต่อเติมเป็นห้องทำงาน มีบันไดขึ้นสองทาง  โดยจะมีชานเล็กๆ  ก่อนเข้าบ้าน  การตกแต่งใช้เทคนิคปูนเป็นส่วนใหญ่  ขณะที่ก็มีการประดับกระจกสีด้วย  ผนังบ้านและเสาใช้วิธีหล่อคอนกรีตผสมกับหินกรวดจากแม่น้ำวัง  จึงแข็งแรงทนทาน  ส่วนที่เป็นไม้ก็มีการนำมาตากผึ่งให้แห้งสนิทก่อนเพื่อให้คงทน  ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง  คือความสูงของใต้ถุนบ้านหลังนี้  ถูกออกแบบให้อยู่ในระดับเดียวกับตัวสะพานรัษฎาภิเศก  น้ำจึงไม่เคยท่วมขึ้นไปถึงตัวบ้านเลยสักครั้ง

อาคารเยียนซีไท้ลีกี  (สร้างในปี  พ.ศ. ๒๔๕๖)  ตึกฝรั่ง หัวใจจีน


       จากบ้านของแม่เลี้ยงเต่าเดินไม่ไกลจะถึงอาคารเยียนไท้ลีกีที่สร้างขึ้นในปี  พ.ศ. ๒๔๕๖  โดยนายห้างใหญ่ชาวจีนชื่อนายจิ้นเหยี่ยน  (อารีย์  ทิวารี) ตันตระกูลทิวารี  เอเยนต์น้ำมะเน็ด ลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์สร้างด้วยปูนทั้งหลัง  ประดับตกแต่งแบบตะวันตกชนิดเต็มรูปแบบ  หลังคาเป็นปั้นหยา  แต่กั้นแบบดาดฟ้า  (Paraped)  ลวดลายที่ใช้มีทั้งไม้ฉลุและปูนประดับ  โดยด้านบนของอาคารบริเวณตรงกลางมีหน้าจั่วที่บอกถึงปีที่สร้างอาคารนี้  คือ  ค.ศ.  ๑๙๑๓  และมีรูปปั้นหนูตามปีเกิดผู้เป็นเจ้าของ  และลายสัญลักษณ์ลูกโลกพร้อมทั้งลายใบไม้  ดอกโบตั๋น  ลายต้นไผ่  และลายประดิษฐ์รูปโบว์


       ห้างเยียนซีไท้ลีกีเคยเป็นห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุดในย่านตลาดจีน  ทั้งยังมีตู้เชฟโบราณเจาะฝังเข้าไปในกำแพงคล้ายห้องลับขนาดเล็ก  โดยฝาตู้เชฟใบนี้นำเข้าจากเยอรมนีโดยบรรทุกมากับเรือ  ปัจจุบันฝาตู้เชฟก็ยังมีอยุ่  ในอตีดเมื่อมีเหตุการณ์ล่อแหลมเกิดขึ้นในชุมชน  เจ้าของห้าง  รวมทั้งชาวบ้านคนอื่นๆ  จะนำทรัพย์สินมาฝากไว้ที่นี่
       ปัจจุบันทายาทตระกูลทิวารีได้แบ่งห้องในอาคารนี้ให้เช่าทำร้านค้าและที่อยู่อาศัย  บางคูหาเปลี่ยนเจ้าของไปแล้ว  กลายเป็นร้านอาหาร


บ้านแม่แดง (สร้างราวปี  พ.ศ.  ๒๔๖๑) อดีตร้านเกากี่ที่รุ่งเรือง
       ตรงข้ามกับบ้านทนายความเป็นบ้านแม่แดง  ของนายเกา  แซ่แห่ว-แม่แดง  พานิชพันธ์  เดิมบ้านหลังนี้คือร้านเกากี่  ขายสรรพสินค้าที่นับว่าทันสมัยมากในสมัยนั้น  ทั้งของใช้ในประเทศจากกรุงเทพฯ  และนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยมีลูกค้าร่ำรวยทุกระดับชั้น  ตั้งแต่เจ้านายฝ่ายเหนือพวกฝรั่งจากบริษัททำไม้  รวมไปถึงคนมีฐานะทั่วลำปาง  ภายหลังนายเกาถึงแก่กรรมแม่แดงก็ดำเนินกิจการต่อมาด้วยตัวเอง  โดยล่องเรือขึ้นล่อง ลำปาง-กรุงเทพฯ  เป็นประจำ  รวมทั้งยังเดินทางไปค้าขายต่างจังหวัดอยู่บ่อยๆ  จนจัดว่าเป็นคนมีฐานะดีคนหนึ่งของย่านตลาดจีน

       เจ้าของบ้านแม่แดงคนปัจจุบัน  คืออาจารย์วิถี  พานิชพันธ์  ซึ่งได้มีการซ่อมแซมบ้านอยู่เสมอ  เช่น  ทาสีใหม่  นำไม้แกะสลักมาตกแต่งบริเวณใต้ชายคา  เรือนแถวปั้นหยาทรงธรรมดาสองชั้นหลังนี้  เป็นแบบครึ่งปูนครึ่งไม้  อยู่ติดถนน ไม่มีรั้ว  ประตูบานเฟื้ยมแบ่งเป็น  ๓  ประตูใหญ่  ชั้นบนมีการตกแต่งราวระเบียงเป็นลวดลายเรขาคณิตสวยงามโดดเด่น  รับกับใต้ชายคา ที่มีการนำไม้แกะสลักและฉลุลายมาตกแต่ง

อาคารหม่องโง่ยซิ่น  (สร้างราวปี  พ.ศ.  ๒๔๕๑)  พลิ้วไหวในงานไม้
       โดดเด่นที่สุดในแถบนี้  เห็นจะเป็นอาคารที่อยู่ตรงข้ามอาคารกาญจนวงค์นี่เอง  งามกระทั่งศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์  อย่าง  น.  ณ  ปากน้ำ  ยกย่องว่าเป็นอาคารขนมปังขิงริมถนนที่งดงามที่สุดในประเทศไทย  ทั้งยังได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น  ประจำปี  ๒๕๕๐  ประเภทอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนา  จากกรรมาธิการล้านนา  สมาคมสถาปนิกสยาม  ในพระบรมราชูปถัมภ์
       เอาคารหม่องโง่ยซิ่นเป็นเรือนขนมปังขิงหลังคาทรงมะนิลา  สูงสองชั้นครึ่ง  ลักษณะครึ่งปูนครึ่งไม้ห้องบนสุดคือห้องพระประดับด้วยกระจกสี  ขึ้นไปถึงได้โดยใช้บันไดลับที่ซ่อนอยู่ในตู้แบบบิลต์อินบนชั้นสอง  ความพิเศษของอาคารหม่องโง่ยซิ่นอยู่ที่ลาบฉลุไม้  (Framework)  ทาสีขาวแบบเรือนขนมปังขิงทั่วไป  โดยส่วนใหญ่เป็นลายพรรณฤกษา  ลายก้านขด  ลายประดิษฐ์  มีลายสัตว์และลายสัญลักษณ์ที่หน้าจั่วประดับตกแต่งแทบทุกส่วนของอาคาร  ดูหรูหรา  พลิ้วไหว  น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ  หน้าจั่วมีการประดับสะระไนอันเป็นลักษณะเด่นของเรือนแบบมะนิลา  ฝ้าเพดานบุด้วยแผ่นดีบุกดุนลายเหือนอย่างวัดในพม่า  ซุ้มโค้งเหนือประตูด้านในปรุงแต่งด้วยกระจกสีเหมือนดวงอาทิตย์กำลังแผ่รัศมี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในบ้านแล้วมองออกมาจะเห็นชัดเจนมาก
       ช่างจากพม่าเป็นผู้รังสรรค์ความงามนี้ให้อาคารหม่องโง่ยซิ่น  ซึ่งเราจะเห็นตัวอักษรอังกฤษ  Moung ngwe zin  ติดอยู่ที่ระเบียงไม้ฉลุ  สำหรับหม่องโง่ยซิ่นนั้น  เป็นบุตรชายหม่องส่วยอัตถ์ ชาวพม่า เฮดแมนคนแรกของบริษัททำไม้ในลำปาง  ซึ่งก็คือต้นตระกูลสุวรรณอัตถ์ผู้ร่ำรวยจากการค้าไม้นั้นเอง
       เรือนกึ่งปูนกึ่งไม้  ๕  คูหาเคยคึกคักเพราะที่นี่อยู่กันครอบครัวใหญ่ไหนจะท่าเรือ  ไหนจะที่ผูกช้าง ยุคหลังๆ  จึงปรับเปลี่ยนมาเป็นร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ด  เป็นที่พักและบาร์รับรองพวกฝรั่งทำไม้  ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่ก็มีการใช้ประโยชน์เพียงบางส่วนเท่านั้น  เนื่องจากสภาพโดยทั่วไปของอาคารค่อนข้างเก่า  ทั้งนี้  ก็ไม่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงส่วนใดเลย  ยังคงสภาพเดิมทั้งหมด

อาคารกาญจนวงศ์  (สร้างราวปี  พ.ศ. ๒๔๕๑)  ขนมปังขิงแสนหวาน
       ติดกันกับบ้านอนุรักษ์  คืออาคารขนมปังขิงสองชั้นแบบวางเรือนขวางเช่นเดียวกับอาคารฟองหลี  หลังคาจั่วตัดทางขวางซึ่งเป็นการวางผังแบบร้านค้าของชาวจีน  ชื่ออาคารกาญจนวงศ์  อ่อนหวานด้วยลายฉลุอันชดช้อยมองเพลิน  เดิมเป็นของบัวผัดกาญจนวงศ์  ชาวพม่า  แต่ปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์ของเรือนระวี  ตรีธรรมพินิจ  แห่งร้านเตียเฮ่งฮงย่านสบตุ๋ย

       ผู้สร้างเรือนนี้เป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่า  สร้างเพื่ออยุ่อาศัยและเป็นร้านเย็บผ้า  อาคารกาญจนวงศ์เป็นอาคารปูนทั้งหลัง  ประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุและเทคนิคปูน  ลวดลายที่ใช้เป็นลายพรรณพฤกษาและลายประดิษฐ์ เป็นส่วนใหญ่  ตัวอาคารและลายฉลุไม้ทาด้วยสีขาวทั้งหมด  ซึ่งเป็นลักษณะของเรือนขนมปังขิง  ส่วนที่เป็นไม้บริเวณประตูและหน้าต่างทาสีเทาอ่อน  สภาพเรือนได้รับการปรับปรุงเทื่อไม่นานมานี้  ลวดลายปูนปั้นเหนือประตูเป็นลวดลายปูนปั้นนูน  มีความสวยงามอ่อนช้อย  รังสรรค์ด้วยช่างผู้ชำนาญการจากมัณฑะเลย์  นับเป็นงานปูนปั้นที่ต้องเพ่งพินิจทุกครั้งแก่ผู้ที่ได้พบเห็น

ที่มาของข้อมูล : หนังสือกาดกองต้าย่านเก่าเล่าเรื่องเมืองลำปาง โดย กิติศักดิ์ เฮงษฎีกุล

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บ้านหลุยส์


บ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนา 
บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้หลังสวยที่คุณเห็นอยู่นี้คือ ‘บ้านหลุยส์’ คฤหาสน์อายุกว่า 112  ปีในจังหวัดลำปางที่เคยเป็นบ้านของนายห้างค้าไม้ชาวอังกฤษ นามว่า หลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์
ใช่แล้ว-นี่คือบ้านของลูกชายแหม่มแอนนา เลียวโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนา
บ้านหลุยส์คือหนึ่งในเหล่าบ้านโบราณจากยุคลำปางรุ่งเรืองเพราะมีการทำสัมปทานป่าไม้ ในมุมหนึ่ง บ้านของเศรษฐีเมื่อร้อยกว่าปีก่อนเหล่านี้คือมรดกล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ย่อมเปลี่ยนไป ลำปางพ้นยุคเฟื่องฟู ลูกหลานส่วนใหญ่ย้ายไปหางานทำและอาศัยที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ  บ้านเก่าเหล่านี้จึงถูกทิ้งให้รกร้าง และเมื่อไม่มีแผนจะกลับมาตั้งรกรากที่บ้านเกิด เจ้าของยุคปัจจุบันก็พร้อมจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านโบราณสู่เจ้าของใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าพร้อมจะรื้อบ้านเหล่านี้ทิ้งเพื่อนำที่ดินไปใช้
บ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนาบ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนา
บ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนา
แต่ก่อนที่บ้านโบราณในลำปางจะสูญหายไปหมด ‘เครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า’ ก็ถือกำเนิดขึ้น พวกเขาคือกลุ่มคนจากหลากหลายอาชีพที่หลงใหลและตั้งใจจะอนุรักษ์บ้านเก่า หากไม่ใช่ด้วยวิธีไปหากฎหมายมาคุ้มครองซึ่งดูเป็นการบังคับ หรือการไปบอกให้คนช่วยเก็บรักษาบ้านเก่าไว้ซึ่งดูไม่ยุติธรรม เพราะเจ้าของบ้านยุคนี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ แถมค่าใช้จ่ายในการดูแลก็สูง
คนรักบ้านเก่ากลุ่มนี้มองว่าอยากสร้าง ‘แรงจูงใจ’ หรือการลองมองหาวิธีเก็บรักษาบ้านเก่าโดยที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์
บ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนา
บ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนาบ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนา
แล้วหลังการลงพื้นที่สำรวจ พวกเขาก็ตกลงใจเลือกบ้านของลูกชายแหม่มแอนนา เลียวโนเวนส์ ในชุมชนท่ามะโอของลำปาง ซึ่งตอนนี้เป็นขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นห้องทดลองทางแก้ปัญหา
“บ้านหลุยส์มีประวัติศาสตร์น่าสนใจ ตัวบ้านในแง่สถาปัตยกรรมถือว่าสวย ลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร ออกแบบได้ดี และเป็นบ้านที่มีบริเวณที่เหมาะสม” อุดมสิน หาญเมธี นักออกแบบกราฟิกหนุ่ม หนึ่งในสมาชิกเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่าอธิบายเหตุผล
บ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนา
แนวคิดที่คิดไว้ถูกนำมาทำให้เป็นรูปธรรม โดยบ้านโบราณหลังนี้จะไม่ใช่เพียงถูกบูรณะ แต่จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้ชุมชน
“ถ้ามีบ้านเก่า สิ่งที่เราต้องทำคือคิดว่าเขาเหมาะจะเป็นอะไร อย่างบ้านหลุยส์อาจไม่เหมาะจะเป็นโฮมสเตย์ เพราะว่าตัวบ้านมีคุณค่า มันเลยอาจเหมาะกับการเป็นที่ที่คนมาแวะ ดึงคนให้มาเที่ยว” อุดมสินกล่าว
บ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนาบ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนาบ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนา
กระบวนการแปลงร่างบ้านหลังนี้เริ่มต้นขึ้น โดยทางเครือข่ายฯ ไปล้อมวงคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ถึงสมัยที่นายห้างหลุยส์ยังมีชีวิตเพื่อให้เห็นภาพรวมชัดเจน หลังจากนั้นก็เริ่มปรับแต่งสถานที่ ส่วนโครงสร้างไม่ได้มีการบูรณะใหญ่โต เพราะบ้านหลุยส์ถือว่ายังค่อนข้างอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แต่มีการปรับใช้ทางเข้าของบ้าน จากเดิมที่ให้เข้าทางด้านข้าง ก็เปลี่ยนไปเข้าทางด้านหน้าเพื่อความสวยงาม ส่วนนอกบ้านมีการใช้ซุงและนำรถยนต์โบราณมาเสริมเติมแต่ง คงบรรยากาศห้างค้าไม้เมื่อร้อยกว่าปีให้มากที่สุด
บ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนาบ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนาบ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนา
และแน่นอนว่า นอกจากตัวสถาปัตยกรรมแล้ว เรื่องราวของบ้านหลุยส์คือจุดเด่นสำคัญที่ทำให้บ้านโบราณหลังนี้มีเสน่ห์ จึงมีการจัดบอร์ดนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวในวันวานของบ้านให้แก่ผู้มาเยี่ยมชม
มากไปกว่านั้น ยังมีการจัดกิจกรรมในพื้นที่รอบบ้านซึ่งเชื่อมโยงวิถีชีวิตของคนในชุมชนท่ามะโอ โดยทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน บ้านหลุยส์หลังนี้จะมีงาน ‘ท่ามะโอ เรโทร แฟร์’ ซึ่งแทบทั้งหมดจัดขึ้นโดยชาวท่ามะโอเอง มีกิจกรรมละลานตา ตั้งแต่กาดมะโอมาร์เก็ตขายสินค้าจากชุมชน ลานเด็กยิ้มลานไก่เขี่ย (กิจกรรมเสิรมความรู้ อ่าน เขียน เรียน เล่น) สตรีทอาร์ต และการแสดงมากมาย รวมถึงในครั้งที่ 1 มีการชักชวนศิลปินมาถ่ายภาพและวาดภาพบ้านหลุยส์ ก่อนจะนำมาจัดแสดงเคียงคู่ไว้กับบอร์ดนิทรรศการที่โถงชั้นล่างของบ้าน
บ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนาบ้านหลุยส์, ลำปาง, แหม่มแอนนา
การคืนชีวิตให้บ้านหลุยส์ของเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่าประสบผลสำเร็จด้วยดี นักท่องเที่ยวทั้งจากในพื้นที่และต่างจังหวัดต่างพากันแวะเวียนมาและได้เรียนรู้จักอีกมุมของเมืองลำปาง ขณะที่ชาวบ้านในชุมชนก็มีรายได้และเห็นคุณค่าในเหล่าบ้านโบราณหลังเก่าซึ่งเคยถูกมองว่าใช้ประโยชน์ไม่ได้อีกต่อไป
บ้านหลุยส์ที่กลับมาเปล่งประกายสง่างามในวันนี้จึงถือเป็นเครื่องยืนยันว่า ทางแก้ปัญหาของกลุ่มคนผู้หลงรักบ้านเก่าของลำปางนี้ใช้ได้จริง
“บ้านเก่าต้องมีประโยชน์กับคนที่ยังอยู่ด้วย คนที่ยังอยู่ไม่ได้หมายถึงแค่เจ้าของบ้าน แต่หมายถึงคนที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน นักท่องเที่ยว คนในประเทศนี้หรือนอกประเทศที่เขาเดินทางมา” อุดมสินย้ำกับเราอีกครั้ง
'บ้านหลุยส์' คฤหาสน์บ้านโบราณอายุกว่า 112 ปี ของแหม่มแอนนา ในจังหวัดลำปาง                                   Writer

กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ สู่ ลาดพร้าว - สุขุมวิท , พูดภาษาพม่าได้นิดหน่อย เป็นนักสะสมกระเป๋าผ้า ชอบหวานน้อยแต่มักได้หวานมาก