วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

สถานปฏิธรรมหลวงพ่อเกษม เขมโก



หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนาธุระ ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 สิริอายุได้ 85 ปี พรรษา 64 พรรษา และในวันนี้วันที่ 15 มกราคม 2563 เป็นวันครบรอบ 24 ปี วันละสังขารของหลวงพ่อเกษม เขมโก อีกด้วย ซึ่งสถานปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นแหล่งรวมศรัทธาของผู้ที่เลื่อมใสในหลวงพ่อฯ ที่มีทั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อฯ หรือแม้แต่สรีระของท่านที่ประดิษฐ์สถานอยู่ในโลงแก้วให้ศรัทธาได้มากราบไหว้
การเดินทาง
ข้ามสะพานรัษฎาฯตรงมายังแยกไฟแดงที่มีจุดสังเกตุรูปปั้นม้าอยู่ซ้ายมือ โดยเลี้ยวไปทางขวาไปยัง ถนนหมายเลข 1035 ตรงไปประมาณ 2 กิโลเมตร สถานปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเกษม เขมโกจะตั้งอยู่ทางขวามือ

GPS
สำนักปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเกษมเขมโก
https://maps.app.goo.gl/NXoJzTV6aVS31Bv96

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563

วัดไหล่หินหลวง

วัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพตาราม อีกหนึ่ววัดสำคัญเก่าแก่ของเมืองลำปาง ที่มีอายุหลายร้อยปี โดยมีพระวิหารเก่าแก่ฝีมือช่างเชียงตุงเป็นศิลปะแบบล้านนาไทย ประดับลวดลายงดงามทั้งหลัง เป็นสถาปัยกรรมแบบล้านนาโบราณ และยังซุ้มประตูโขงที่มีความเก่าแก่และสวยงามมีอายุหลายร้อยปี ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ประกาศวัดไหล่หินขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ .ศ .2523 สิ่งที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน คือ วิหารทรงล้านนา พระธาตุเจดีย์ พระอุโบสถ ซุ้มประตูกำแพงแก้ว และหอธรรม นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2550 ยังได้ขึ้นเป็นอาคารอนุรักษ์จากสมาคมสถาปนิกสยามซึ่งวิหารโบราณนั้นสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2226 ด้านในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย และ รูปปั้นพระมหาป่าเกสระปัญโญ

การเดินทาง 🚗🚗🚗🚗
เริ่มต้นจากที่ว่าการอำเภอเกาะคาเข้าทางเดียวกับวัดพระธาตุลำปางหลวง 1 กิโลเมตร และแยกซ้ายอีกประมาณ 6 กิโลเมตร วัดไหล่หินหลวงจะตั้งอยู่ทางซ้ายมือ

GPS
https://maps.app.goo.gl/vkTK2eHDXMNQwv9Q8

วัดศรีรองเมือง ลำปาง

วัดศรีรองเมือง หรือชื่อเดิมว่า วัดท่าคะน้อยพม่า ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองลำปาง ซึ่งภายในวัดจะมีพระวิหารไม้สักทองที่สวยงามที่สุดในจังหวัดลำปาง มีการเล่ากันมาว่าเหมือนวิมานของพระอินทร์ โดยวัดนั้นสร้างขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เวลาสร้างถึง 7 ปี ภายในวัดมีศิลปะพม่าที่น่าสนใจคือ วิหารที่มีหลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ภายในมีเสาที่โดดเด่น เสาทุกต้นของวิหารมีการใช้กระจกสลับสีลวดลายทองตั้งแต่โคนเสาจนถึงปลายเสา บางส่วนของจั่วหลังคาได้ถอดแบบมาจากปราสาทเมืองมัณฑเลย์วัดนี้ถูกสร้างขึ้นโดยฝีมือของช่างชาวพม่าจากเมืองมัณฑเลย์ เดิมภายในวัดมีทั้งวิหารใหญ่และวิหารน้อย สำหรับวิหารน้อยนั้นมีอยู่ถึง 9 หลัง แต่ปัจจุบันวิหารน้อยเหล่านั้นปรักหักพังไปจนหมดสิ้น จึงเหลืออยู่เพียงวิหารใหญ่ซึ่งเป็นวิหารประธานของวัดเพียงหลังเดียว ซึ่งตามประวัติความเป็นมาของวัดศรีรองเมือง สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 โดยคหบดีชาวพม่าที่เข้ามาทำไม้ในเมืองลำปาง ของบริษัท บอมเมย์เบอร์ม่า ในสมัยนั้นลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขายและการทำป่าไม้ เหตุที่มีอาชีพตัดไม้ โค่นต้นไม้ในป่า จึงได้สร้างวัดศรีรองเมืองนี้ได้เพื่อเป็นที่พึ่งทางจิตใจ ขอขมาต่อธรรมชาติ อีกทั้งเพื่ออธิษฐานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในป่าคุ้มครอง

การเดินทาง
เริ่มจากเทศบาลนครลำปาง ผ่านหน้าตลาดอัศวินมาจนถึงวิทยาลัยเทคนิคลำปาง ซึ่งวัดจะตั้งอยู่ทางขวามือ

GPS
https://maps.app.goo.gl/qHbvKM4XaUXHuNdn9

แจ้ซ้อน ลวกไข่ ออนเซ็น แช่น้ำร้อน

แจ้ซ้อน <3  ไปเที่ยว...อุทยานแห่งขาติแจ้ซ้อน

แหล่งน้ำพุร้อนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น การไหลรวมของน้ำพุร้อนและน้ำตก เกิดเป็นแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับการแช่เท้า นอกจากนั้นยังมีบ่อแช่ไข่ออนเซ็นที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครอย่าง ไข่น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน ที่มีลักษณะไข่แดงแข็งตัวไข่ขาวเหลว มีสัมผัสการลิ้มรสที่แปลกไม่เหมือนไข่ออนเซ็นที่ใด มีการนำไข่น้ำพุร้อนแจ้ซ้อนไปทำเมนูอาหารต้องห้ามพลาดอีกหนึ่งของจังหวัดลำปาง นั่นคือ ยำไข่น้ำแร่แจ้ซ้อน ที่ถูกคิดค้นเมนูโดยหม่อมถนัดศรีฯ นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนยังมีน้ำตกที่มีความสวยงามให้ได้ชมอีกด้วย ภายในอุทยานมีที่พักและลานกางเต๊นท์สำหรับนักท่องเที่ยว มีโรงอาหารและร้านค้าสวัสดิการที่คอยอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทุกคนอีกด้วย

การเดินทาง 🚗🚗🚗🚗
เดินทางโดยถนนทางหลวงหมายเลข 1157 ไปยังอำเภอเมืองปานประมาณ 52 กิโลเมตร และใช้ถนนหมายเลข 1252 เข้าไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ไปถึงแยกที่มีป้ายอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนและเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตรก็จะถึงอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

GPS
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

https://maps.app.goo.gl/h5nkgv5yNFhXjouTA

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

" อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน "


มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ และอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง  
มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิด และมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตก แอ่งน้ำอุ่น บ่อน้ำร้อนระอุอยู่
ในปี 2526 กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานแอ่งน้ำอุ่น (วนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน) บริเวณน้ำตกแจ้ซ้อน เนื้อที่ประมาณ 45,000 ไร่ หรือ 75 ตารางกิโลเมตร โดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตลำปาง

ได้เริ่มโครงการตกแต่งวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2529 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2530 
ยกระดับฐานะวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2530 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่สุก ป่าแม่สอย ป่าแม่ตุ๋ยฝั่งซ้าย ป่าแม่ตุ๋ยฝั่งขวา ในท้องที่ตำบลแจ้ซ้อน ตำบลเมืองปาน ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านคำ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 370,000 ไร่ หรือ 592 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 58 ของประเทศ 

ต่อมาวันที่ 28 ธันวาคม 2543 ได้มีประกาศขยายเขตอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ขยายเขตอุทยานแห่งชาติป่าแม่สุก ป่าแม่สอย ป่าแม่ตุ๋ยฝั่งซ้าย และป่าแม่ตุ๋ยฝั่งขวา ในท้องที่ตำบลวังใต้ ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม และตำบลหัวเมือง ตำบลเมืองปาน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 110,000 ไร่ หรือ 176 ตารางกิโลเมตร 

สภาพภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของสันเขาผีปันน้ำตะวันตก ทอดตัวตามแนวทิศเหนือสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรื่อยไปทางทิศใต้จนถึงอำเภอแม่พริก ซึ่งเป็นเขตแบ่งระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน 
มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 300-2,031 เมตร มียอดเขาสูงที่สุดคือ ดอยลังกา อีกทั้งยังประกอบด้วย ดอยสันผักกิ้ง ดอยชายแดน ดอยแม่กา ดอยตะไคร้ ดอยต๋ง ดอยวังหลวง ดอยห้วยหลอด ผาหลักไก่ ม่อนทางเก้า ดอยแม่บึก ม่อนจวง ดอยแม่มอน และดอยแปเมือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำวัง ประกอบด้วยลำน้ำขนาดต่างๆ จำนวนมากได้แก่ น้ำแม่หมี น้ำแม่ต๋อม น้ำแม่สอย น้ำแม่มอน น้ำแม่ปาน น้ำแม่ฮะ น้ำแม่ปอม น้ำแม่บึง น้ำแม่สุ่ย และน้ำแม่ค่อม เป็นต้น และเป็นแหล่งต้นกำเนิดของลำห้วยใหญ่ๆ ที่สำคัญเป็นสาขาของแม่น้ำวัง เช่น แม่น้ำสอย ห้วยแม่กา ห้วยแม่ปาน 
นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดินเป็นแหล่งบ่อน้ำร้อน บริเวณกว้างถึง 2,400 ตารางเมตร มีน้ำร้อนผุดจากบ่อเล็กถึง 9 บ่อ เต็มไปด้วยโขดหินน้อยใหญ่ มีอัตราการไหลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งมีอัตราการไหลประมาณ 15 ลิตร/วินาที อุณหภูมิระหว่าง 39-47 องศาเซลเซียส 

ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง ประกอบด้วย ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนกันยายน  และจะมีระยะฝนทิ้งช่วงระหว่างต้นเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่อากาศเย็นสบาย อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22 องศาเซลเซียส และฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างจะร้อน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 26 องศาเซลเซียส แต่โดยปกติอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดปี 

ป่าของอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนสามารถจำแนกออกได้เป็น 
- ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นอยู่โดยทั่วไปตามสันเขาและตามหุบเขาในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ โดยทั่วไปทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้เด่นที่พบส่วนใหญ่ประกอบด้วย สัก แดง ประดู่ แสมสาร กระบก กว้าว เก็ดแดง ติ้ว ซ้อ ปอกระสา ฯลฯ จะพบไผ่กระจายอยู่ทั่วไป เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ ไผ่หอบ พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยที่พบมีกล้วยนวล กระชาย เล็บเหยี่ยว กะลังตังช้าง เครือออน เป็นต้น 
- ป่าเต็งรัง พบอยู่ตามเชิงเขาไหล่เขาทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะกอกป่า แดง ประดู่ อ้อยช้าง กระโดน มะเกิ้ม โมกมัน มะค่าแต้ ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบได้แก่ หญ้าเพ็ก โจด และปรงป่า 
- ป่าดิบเขา พบขึ้นอยู่ในระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป มีอยู่เป็นหย่อมๆ บริเวณตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อตาหมู ไก๋ ทะโล้ เหมือด จำปาป่า ยางเหลือง ตะไคร้ต้น ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบ เช่น ไผ่ศก โชนผี และพืชในวงศ์ขิงข่า 
- ป่าสนเขา ขึ้นเป็นหย่อมๆ บริเวณแนวสันเขา ไหล่เขา ที่มีความสูงมากกว่า 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ จำปีป่า หว้า มะขามป้อมดง กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้า หนาด สาบหมา และพืชในวงศ์ข่า 
- ป่าดิบชื้น พบอยู่ในบริเวณหุบเขา ตามริมห้วยลำธารต่างๆ บริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง พันธุ์ไม้เด่นที่สำคัญ ได้แก่ ยาง มะหาด มะไฟ อบเชย ชมพู่ป่า สะท้อนรอก ลำไยป่าเครือ คอแลน สะตอ ยมป่า พระเจ้าห้าพระองค์ พืชพื้นล่างที่พบเป็นพวก ไผ่เฮียะ เฟิน หวาย และพืชในวงศ์ขิงข่า 
เนื่องจากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และผสมปะปนกันอยู่หลายชนิด  

สัตว์ป่าที่พบเห็นในเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วย เก้ง กวางป่า เลียงผา หมูป่า เสือดาว หมีควาย ชะนีมือขาว ลิงลม เม่น หมูหริ่ง ชะมด พังพอน ลิ่นพันธุ์ชวา กระต่ายป่า กระรอกหลากสี กระแต อ้นใหญ่ หนูฟานเหลือง ค้างคาวไผ่หัวแบนเล็ก ไก่ป่า นกเขาเปล้า นกบั้งรอกใหญ่ นกแอ่นพันธุ์หิมาลัย นกกะเต็นน้อยธรรมดา นกโพระดกคอสีฟ้า นกนางแอ่นบ้าน นกพญาไฟใหญ่ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกเขียวคราม นกกินแมลงอกเหลือง นกกางเขนดง นกจับแมลงจุกดำ นกสีชมพูสวน ตะพาบน้ำ จิ้งจกดินลายจุด กิ้งก่าสวน แย้ขีด จิ้งเหลนบ้าน งูสามเหลี่ยม งูลายสอใหญ่ งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว อึ่งกรายตาขาว คางคกบ้าน เขียดจะนา กบหนอง ปาดบ้าน และอึ่งขาดำ เป็นต้น 
ประมาณเดือนเมษายนของทุกปี จะมีจักจั่นป่ามารวมตัวกันบริเวณบ่อน้ำร้อน ซึ่งเชื่อกันว่าจักจั่นป่าเหล่านี้มาดื่มน้ำแร่ 

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดลำปางประมาณ 75 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้ดังนี้ 
- จากตัวเมืองลำปาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 1035 (ลำปาง-วังเหนือ) ระยะทาง 58 กิโลเมตร ผ่านอำเภอแจ้ห่ม
เลี้ยวซ้ายสามแยกบ้านปงคอบ ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1287 (แจ้ห่ม-เมืองปาน) ระยะทาง 6 กิโลเมตร
เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1252 (ข่วงกอม-ปางแฟน) ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร 
แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามทาง รพช.อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน 

- จากตัวเมืองลำปางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1039 (ลำปาง-ห้างฉัตร) เลี้ยวขวาที่สามแยกบ้านน้ำโท้ง ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1157 (ลำปาง-ห้วยเป้ง-เมืองปาน) ระยะทาง 55 กม. 
เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1287 (เมืองปาน-แจ้ห่ม) ประมาณ 2 กิโลเมตร 
เลี้ยวซ้าย ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1252 (ข่วงกอม-ปางแฟน)อีกประมาณ 11 กิโลเมตร 
แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามทาง รพช.อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน 

- จากจังหวัดเชียงราย สามารถเดินทางมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ประมาณ 25 กิโลเมตร 
แล้วเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 118 ผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า ระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร 
ถึงสามแยกบ้านแม่ขะจานแล้วเลี้ยวซ้ายเข้ามา 10 กิโลเมตร
แล้วเลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1035 (ลำปาง-วังเหนือ) ระยะทาง 60 กิโลเมตร 
ถึงสามแยกบ้านปงคอบเลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1252 (ข่วงกอม-ปางแฟน) อีกประมาณ 11 กิโลเมตร 
เลี้ยวซ้ายเข้าตามทาง รพช.อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

หนาวนี้เชิญชวนมาท่องเที่ยวที่ลำปางกันครับ 
"ลำปางหนาวมาก"
Cr.Manuspee

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563

6 แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง




นครจังหวัดลำปาง หรือเมืองรถม้า เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือที่ดูเหมือนจะไม่หมุนตามยุคสมัย เนื่องจากจังหวัดลำปางยังคงเอกลักษณ์รวมทั้งอารยธรรมของล้านนาได้อย่างดีเยี่ยม ดังจะมองเห็นได้จากรถม้าที่ทุกวันนี้ก็ยังมีให้มองเห็น อารามแบบสถาปัตยกรรมล้านนา ถนนหนทางคนเดินที่ผ่านบ้านเมืองคลาสสิค และก็ธรรมชาติที่ก็บริสุทธิ์มิได้น้อยไปกว่าจังหวัดข้างๆเลย หลายๆคนบางทีอาจยังไม่ทราบว่าจังหวัดลำปางนั้นมีลักษณะราวกับแอ่งที่ราบคล้ายแอ่งกระทะรายล้อมด้วยเทือกเขา มีประวัติที่ไปที่มานานกว่า 1,300 ปี และก็มีเขตแดนใกล้กับจังหวัดเชียงใหม่และก็จังหวัดลำพูน เป็นอีกเมืองต้องห้ามพลาดที่ไม่สมควรละเลย เว้นแต่ขึ้นชื่อว่าเมืองรถม้าแล้ว ที่เที่ยวจังหวัดลำปาง ที่พวกเราเก็บมาให้วันนี้ก็มีเด็ดๆอีกมากมาย



1.สะพานบุญวัดพระบรมสารีริกธาตุหลังเต่า |ที่เที่ยวจังหวัดลำปาง
มั่นใจว่าภาพของสะพานไม้ไผ่ที่ทอดผ่านออกไปในนาข้าวสีเขียวชะอุ่ม ควรเป็นสถานที่ที่คนอีกจำนวนไม่น้อยถูกใจ เนื่องจากว่ามันแสดงถึงวิถีชีวิตต่างจังหวัดของประชาชนในบริเวณนี้ รวมทั้งการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติแบบสนิทสนมสุดๆได้เบาๆเยื้องกรายเข้าไปในไร่ แลเห็นผืนทุ่งนาข้าวอันกว้าง ยิ่งมาในตอนเดือนกรกฏาคม – ต.ค. นะ นาจะเปลี่ยนแปลงเป็นสีเขียวชอุ่มตลอดสองทางเท้าเลย

สะพานบุญวัดพระบรมธาตุสันทราย หรือที่คนแถวนี้เขาเรียกกันว่า ขัวแตะต้อง เป็นสะพานที่เกิดขึ้นจากแรงเชื่อถือของราษฎร ด้วยกันบริจาคไผ่และก็นาของตนเองเพื่อใช้สำหรับเพื่อการสร้างสะพานเชื่อมต่อกับวัดพระบรมธาตุหลังเต่า โดยไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเดินทางไปทางเก่ามากยิ่งกว่า คนไหนกันแน่ต้องการตามมาพิสูจน์ว่าจะสวยแค่ไหน ก็สามารถขับขี่รถออกมาจากเมืองจังหวัดลำปางมาที่บ้านวังเงิน อำเภอแม่ทะ ใช้เวลาเพียงแค่ 30 นาที แค่นั้น

2.เหมืองแม่เมาะ |ที่เที่ยวจังหวัดลำปาง
ผู้ใดจะไปคิดล่ะว่าเหมืองปกติจะเปลี่ยนเป็นที่เที่ยวในจังหวัดลำปางงามในแบบที่ไม่คาดฝัน อันที่จริงแล้วตรงนี้เป็นเหมืองลิกไนต์ที่อำเภอแม่เมาะ มีอีกทั้งสวนพฤกษชาติรวมทั้งสวนสรรเสริญ 84 ปี ซึ่งแต่ก่อนเป็นแค่เพียงที่ทิ้งดิน แต่ว่าถัดมาได้ถูกปรับปรุงให้แปลงเป็นสวนสาธารณะโอบล้อมไปด้วยพรรณไม้นานาประเภท ทั้งยังพืชดอก ไม้ประดับ มีสะพานยื่นที่เป็นเสมือนซิกข์เนพบร์ของตรงนี้ให้ได้ออกไปถ่ายภาพเล่นกัน

ยิ่งไปกว่านี้ยังมีสระบัวขนาดใหญ่ ประดับโดยการใช้ตะเกียงตกแต่ง ก็เลยทำให้ช่วงกลางคืนนั้นดูงดงามระยิบไปอีกทั้งสวนเลย ส่วนคนไหนกันต้องการหาอะไรสนุกสนานๆทำ เพิ่มความแอดเวนพบร์นิดๆชาวเหมืองเขาก็มี ‘ลานสไลเดอร์’ โดยพวกเราจึงควรนั่งบนแผ่นรองแล้วสไลด์ลงมาตามพื้นหญ้า มองเห็นไหมล่ะ ว่าเหมืองก็มิได้มีแม้กระนั้นฝุ่นละอองและก็ควันนะ กลับเต็มไปด้วยสวนดอกไม้งามต่างหาก

3.ทุ่งดอกบัวโคนงแม่เมาะ |ที่เที่ยวจังหวัดลำปาง
ด้านในเหมืองแม่เมาะ เว้นแต่มีสวนพฤกษชาติแล้ว ทราบหรือเปล่าว่าเหมืองที่นี้ได้แอบซ่อนที่ที่บางทีอาจเรียกว่าเป็น Unseen ของจังหวัดลำปางก็ว่าได้ โน่นเป็น ทุ่งดอกบัวโคนงแม่เมาะ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสวนสรรเสริญ 84 ปี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 500 ไร่ ชอบบานสะพรั่งในตอนพฤศจิกายน – ธ.ค.ของทุกปี

ทุ่งดอกบัวโคนงแม่เมาะนั้นอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ่อเหมือง มีความเหลืองสวยงามงามสะดุดตา โอบล้อมไปด้วยทิวเขาน้อยใหญ่รวมทั้งสายหมอกเคล้าคลอดอกบัวโคนง สวยจนถึงราวกับอยู่ต่างถิ่นอย่างไรแบบนั้น แต่ว่าจริงๆอยู่เพียงแค่จังหวัดลำปางนี่เอง โดยสามารถเข้าชมทุ่งดอกบัวโคนงได้แต่ละวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.

4.วัดสรรเสริญพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ |ที่เที่ยวจังหวัดลำปาง
มั่นใจว่าหลายคนอาจจะรู้จักวัดพระบรมสารีริกธาตุจังหวัดลำปางหลวงที่เป็นราวกับวัดประจำจังหวัดไปซะแล้ว แต่ว่าทราบไหมว่าที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลำปางมิได้มีเท่านั้นนะ เพราะเหตุว่าถ้าเกิดทดลองได้ไปวัดสรรเสริญพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ ก็จึงควรร้องว้าวกันเป็นแนว ด้วยเนื่องจากวัดที่นี้มีเจดีย์หลายๆองค์ตั้งอยู่บนยอดดอยแบบเกลื่อนกลาดเรี่ยราดเรี่ย สีขาวสลับทองคำห้อมล้อมไปด้วยป่าดงเขียวชะอุ่ม มองเป็น Unseen Thailand สุดๆแต่ว่าจะต้องขับขี่รถออกไปเมืองนอกเมืองสักหน่อย โดยประมาณ 1 ชั่วโมง มุ่งสู่อำเภอแจ้คลุม ผ่านทางลาดชันไปบ้าง

ต่อด้วยเดินขึ้นบันไดอีกโดยประมาณ 300 ขั้น ก็จะได้พบกับทั้งยังองค์พระบรมสารีริกธาตุรวมทั้งรอยรอยพระบาทให้สักการ ส่วนคุณลักษณะเด่นของสงฆ์นี้ก็คือจุดสำหรับชมวิวที่เห็นวิวแสนสวยสดงดงามพร้อมทั้งหมอกซีดๆเคลียคลอยอดดอย คิดตามและจากนั้นก็ฟินสุดๆไปเลยไหมล่ะ

5.วัดพระบรมสารีริกธาตุภูเขาพระสมาธิ |ที่เที่ยวจังหวัดลำปาง
มาต่อกันอีกหนึ่งวัดบนยอดดอย สวยไม่แพ้วัดสรรเสริญเลย ซึ่งก็คือวัดพระบรมสารีริกธาตุภูเขาพระสมาธิ ที่เที่ยวในจังหวัดลำปางที่ต้องห้ามพลาด เพียงแค่ขับขี่รถออกมาจากเมืองจังหวัดลำปางลงมาทางด้านใตนโดยประมาณ 23 กิโล มุ่งสู่อำเภอแม่ทะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสงฆ์ดั้งเดิมที่ราษฎรแถวนี้นับถือ มีจารีตประเพณีเดินขึ้นมาสักการพระบรมสารีริกธาตุทุกปี เด่นด้วยโลเคชันกึ่งกลางเนินภูเขาพระสมาธิท่ามกลางแมกไม้สีเขียวชะอุ่ม เป็นสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียวที่มองเห็นแจ่มชัดออกมา

ความงามเลิศสวยของสงฆ์ที่นี้เป็นบันไดพญานาคคู่เปรียบเสมือนเอนตัวยาวลงไปข้างล่าง เห็นที่ราบของอำเภอแม่ทะจากมุมสูง ส่วนใครกันแน่ต้องการมามองเห็นทะเลหมอก ชี้แนะว่าให้มาตอนหน้าฝนหรือหน้าหนาว ก็จะแลเห็นทะเลหมอกปกคลุมป่าสีเขียวสุดสายตาเลยล่ะ

6.ถนนหนทางคนเดินกาดกองต้า |ที่เที่ยวจังหวัดลำปาง
ก่อนที่จะจากจังหวัดลำปางไป อย่าลืมที่จะปิดด้านหลังทริปด้วยการแวะไปดู ช้อป ลอง ที่ถนนหนทางคนเดินจังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ในรัศมีเมืองนี่เอง ด้วยเนื่องจากตลาดที่นี้มีที่ตั้งขนานกับแม่น้ำวัง อยู่ในตรอกตลาดจีนชายน้ำ โดยในสมัยก่อนมีคนจีนมากไม่น้อยเลยทีเดียวเข้ามาค้าขายขายตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 5 ก็เลยทำให้มีอาการชาวบ้านเขาเรียกกันว่าตลาดจีน หรือ กาดกองต้า ที่แสดงว่า ตลาดซอยท่าน้ำ

โดยทั้งสองข้างทางของกาดกองต้ามีบ้านเรือนโบราณ อายุแทบร้อยปีเชียวนะ แถมยังเป็นสถาปัตยกรรมประสมประสานระหว่างจีน ยุโรป รวมทั้งเมียนมาร์ได้อย่างพอดี กาดกองต้ามีทั้งยังร้านขายของของที่ระลึก โปสการ์ดต่างๆแล้วก็ของเก๋ๆอีกเยอะมาก แถมยังมีเกสท์เฮ้าส์สำหรับคนใดที่ต้องการแวะพักรวมทั้งสัมผัสวิถีชุมชนให้เยอะขึ้น มาเดินช้อปแล้วก็เพลิดเพลินใจไปกับบรรยากาศเก่าๆของร้อยปีกลายเหมาะกาดกองต้า ทุกเมื่อเชื่อวันเสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. – 22.00 น

วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

บ้านบอมเบย์ ลำปาง


" บ้านบอมเบย์ " ผู้สร้างบริษัท บอมเบย์เบอร์มา จำกัด ( Bombay Burma Trading coporation ) เข้ามาเปิดสาขาภาคเหนือลำปาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2436 โดยเปิดเป็นสำนักงานบริษ้ทค้าไม้สัญชาติอังกฤษ หลังเชียงใหม่ 2 ปี
มร.เจมส์ เกรย์ เป็นคนอังกฤษ ทำงานให้กับบริษัท บอมเบย์เบอร์มา
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2434 ถูกแต่งตั้งให้มาเป็นผู้จัดการเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2441 และได้ลาออกจากบริษัทเมื่อปี พ.ศ.2444 อายุได้เพียง 42 ปี
มร.เจมส์ เกรย์ สมรสกับคุณย่าบัวเขียว จันทน์เกษร เป็นคนเชียงใหม่
( กลับอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่งงานใหม่กับหญิงชาวอังกฤษ และได้ถึงแก่กรรมที่อังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2477 )
มีบุตรชายคนเดียวชื่อ นายเยมส์ (ป๋าเยมส์) หรือ นายบุญยงค์ จันทน์เกษร
เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2438 จบโรงเรียนปรินส์รอยแยลล์เชียงใหม่
เป็นผู้จัดการบริษัท บอมเบย์เบอร์มา จำกัด 1ใน 4 บริษัทต่างชาติที่ได้รับสัมปทานทำไม้สักในจังหวัดลำปาง ต่อมาบริษัท บอมเบย์เบอร์มา จำกัดเลิกกิจการ นายบุญยงค์ จันทน์เกษร จึงได้ซื้อที่ดินและอาคารเก็บไว้เป็นที่พักอยู่อาศัย และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นบุกยึดอาคารหลังนี้ เพื่อใช้เป็นฐานกองบัญชาการของทหารญี่ปุ่น แต่เดิมพื้นที่ของบริษัทมีพื้นที่ครอบคลุมมาถึงติดถนนวังขวาตลอดแนวทั้งหมด แต่ถูกรัฐบาลเวรคืนทำวงเวียนไก่ขาวและทางขึ้นสะพานพัฒนาภาคเหนือ เพื่อตัดเส้นทางและทำสะพานพัฒนาภาคเหนือในสมัยของจอมพลถนอม กิตติขจร
มีสระบ่อดินเก็บน้ำสำหรับให้ช้างกินน้ำและอาบน้ำบริเวณด้านหน้าอาคาร 1 สระ ถัดไปจะมีน้ำบ่อหลวงขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐมอญก้อนโต 1 บ่อ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.00 เมตร ลึกประมาณ 4.00-6.00 เมตร ปากบ่อสูงจากพื้นประมาณ 0.40 เมตร อยู่บริเวณหน้าร้านซ่อมรถยนต์ในปัจจุบัน

ป๋าเยมส์ หรือ นายบุญยงค์ จันทน์เกษร ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.2520
สมรสกับภรรยาคนแรกชื่อ คุณยายคำป้อ จันทน์เกษร (หย่าร้าง)
มีบุตร 4 คน ชื่อ
1.คุณจินดา จันทน์เกษร เสียชีวิต
2.คุณปรีชา จันทน์เกษร เสียชีวิต
3.คุณลัดดา จันทน์เกษร
4.คุณมุกดา จันทน์เกษร
สมรสกับภรรยาคนที่ 2 หลังจากการหย่าร้าง ชื่อคุณย่าชื่น จันทน์เกษร (ตันฤดี)
มีบุตร 2 คนชื่อ
1.คุณเชิดชาย จันทน์เกษร เสียชีวิต ACLA รุ่น 02
2.คุณบุญเจริญ จันทน์เกษร เสียชีวิต ACLA รุ่น 05
จบจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รุ่นที่ 28
( รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดภาคเหนือหลายอำเภอและหลายตำแหน่งครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ดำรงค์ตำแหน่งผู้ช่วยเกษตร อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.2544
สมรสกับ คุณสมพร จันทน์เกษร (อุบลศรี) เป็นคนลำปาง
ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ดูแลบ้านบอมเบย์หลังนี้อยู่
มีบุตร 3 คนชื่อ
1.คุณธนบดี จันทน์เกษร
2.คุณประกฤต จันทน์เกษร
3.คุณกฤชอร จันทน์เกษร
สมรสกับภรรยาคนที่ 3 หลังจากภรรยาคนที่ 2 ได้ถึงแก่กรรม
ชื่อ คุณย่าเพ็ญแข จันทน์เกษร ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่อายุได้ 90 ปี
มีบุตร 3 คนชื่อ
1.คุณประจักร จันทน์เกษร
2.คุณสุรศักดิ์ จันทน์เกษร
3.คุณสุชดาพร จันทน์เกษร
ป๋าเยมส์ หรือ นายบุญยงค์ จันทน์เกษร และคุณย่าชื่น จันทน์เกษร พักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังใหญ่ ส่วนคุณบุญเจริญ จันทน์เกษร พักอาศัยอยู่ในเรือนหลังเล็ก เมื่อนายบุญยงค์ จันทน์เกษร ถึงแก่กรรม จึงขึ้นมาอาศัยที่เรือนหลังใหญ่ และให้ลูกๆไปพักอาศัยในเรือนหลังเล็กแทน
เรามาดูลักษณะบ้านบอมเบย์หลังนี้กัน
แต่เดิมใช้เป็นสำนักงาน เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง แบ่งอาคารเป็น 2 ส่วน ส่วนของเรือนใหญ่ที่ใช้เป็นสำนักงานและส่วนเชื่อมต่อเรือนเล็กที่ใช้เป็นที่พักคนงานและที่ทานอาหาร โครงสร้างหลังคาเป็นไม้มุงด้วยหลังคาแป้นเกล็ดไม้ทั้ง 2 เรือน รูปทรงปั้นหยามีหลังคาเพิงคลุมระเบียงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีการเปลี่ยนหลังคาใหม่ มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่เมื่อปี พ.ศ. 2515 แต่เดิมส่วนของด้านหน้าอาคารจะหันเรือนไปสู่แม่น้ำวัง ทางทิศตะวันออกเฉลียงเหนือ เพราะมีการชักลากไม้สักที่ล่องมาตามลำน้ำวังขึ้นมาใช้งานและประกอบธุรกิจการทำไม้ ปัจจุบันมองไม่เห็นส่วนของด้านหน้ามากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและมีอาคารอื่นบดบังตัวเรือนด้านหน้าอยู่หลายหลัง เรามักจะมองเห็นบ้านหลังนี้แต่ทางด้านข้างเสมอๆเมื่อขับรถผ่าน










































พื้นที่ชั้นล่าง ที่เห็นเป็นโรงจอดรถยนต์ เป็นส่วนต่อเติมขึ้นใหม่ เดิมทีเป็นส่วนเปิดโล่ง หน้าบ้านแต่เดิมเป็นใต้ถุนโล่ง ปรับเปลี่ยนการใช้งานมาเป็นห้องอาหารและห้องครัว มีบันไดขึ้นด้านหน้าอาคาร 17 ขั้น ทำด้วยไม้ราวบันไดไม้ ถัดจากบันได เป็นเฉลียงทางเดินด้านข้างมีราวไม้ตีช่องห่างกั้นแนวเสา ปัจจุบันทำผนังไม้ต่อขึ้นไปเป็นไม้ซี่ระแนงห่างทุกช่องเสา เดินทะลุออกไปถึงส่วนหลังอาคารได้มีหลังคาคลุมและตกแต่งผนังส่วนโค้งใหม่
ภายในอาคารแต่เดิมใช้เป็นห้องสำนักงานของบริษัท ปรับเปลี่ยนการใช้งานมาเป็นห้องรับแขกแทน ผนังห้องชั้นล่างเป็นผนังก่ออิฐมอญก้อนโตก่อหนาหลายชั้นฉาบปูนเรียบทาสี ประตูห้องเป็นประตูบานเฟี้ยมไม้บานทึบไม่มีช่องแสง เหนือผนังก่ออิฐจะเจาะช่องลม 2 ช่องทุกๆช่วงเสาเพื่อระบายอากาศแทน มีบัวปูนปั้นขอบผนังและหัวเสา ฝ้าเพดานโชว์โครงสร้างตงไม้ พื้นไม้ ( ไม่มีฝ้าเพดาน ) ถัดไปด้านหลังจะเป็นห้องเก็บของ ต่อเติมผนังก่ออิฐโชว์แนวและหน้าต่างขึ้นมาใหม่ ห้องด้านขวามือเป็นห้องนอน กั้นผนังและประตูวงกบอลูมิเนียมติดกระจกใสขึ้นใหม่ ด้านหลังเป็นห้องเก็บของและด้านข้างเปิดประตูออกไปสู่ห้องน้ำ มีช่องทางเดินด้านข้าง ผนังตีไม้ซีโปร่งแนวตั้ง กลางเรือนจะมีประตูบานเปิดคู่ลูกฟักไม้ทีบเปิดออกไปสู่เรือนหลังเล็ก โดยเดินลอดใต้บันไดไม้ออกไปสู่ใต้ถุนเรือนหลังเล็กซึ่งเปิดโล่ง ด้านล่างใต้ถุน มีห้องน้ำและห้องครัว หน้าเรือน จะมีบันไดไม้ขึ้นเรือนหลังเล็กอีกบันไดหนึ่ง ซึ่งสามารถเดินเชื่อมต่อไปยังระเบียงด้านหลังชั้นบนของเรือนหลังใหญ่
พื้นที่ชั้นบน ขึ้นจากบันไดไม้ด้านหน้าอาคาร มีประตูบานเปิดคู่ลูกฟักไม้ทึบ มีห้องโถงด้านหน้า 1 ห้องเป็นมุขส่วนหลังคาปั้นหยายื่นออกไป โครงสร้าง เสา คาน ตงและพื้นชั้นบนทั้งหมดทำด้วยไม้สัก ผนังทำด้วยไม้ มีผนังรอบตัวเรือนเป็นช่องหน้าต่างฝาไหล เหนือขึ้นไปเป็นหน้าต่างบานเปิด ลูกฟักไม้ด้านบนทึบด้านล่างเป็นบานกระทุ้งเกล็ดไม้ระบายอากาศ เหนือช่องหน้าต่างจะเป็นช่องลมเกล็ดไม้ติดตายระบายอากาศโดยรอบ ฝ้าเพดานทำด้วยไม้เข้าลิ้นอัดสนิททาสีฟ้า ภายในห้องตั้งโต๊ะหมู่บูชา มีหัวกวางประดับอยู่ 2 หัว และแขวนภาพโบราณเก่าของนายเยมส์หรือนายบุญยงค์ จันทน์เกษร ภาพคนในครอบครัว ชั้นบนมีห้องนอน 2 ห้อง มีช่องทางเดินด้านหน้าห้องนอนทั้ง 2 ข้าง ช่องทางเดินด้านซ้ายมือ มีช่องฝาไหล หน้าต่าง และประตูบานเปิดคู่ออกสู่ระเบียงด้านหน้าตรงช่องบันได จะมีระเบียงหนูไต่ มีระเบียงด้านหน้าเป็น ค.ส.ล.ต่อเติมขึ้นใหม่ ราวระเบียงเป็นเหล็กดัด แต่เดิมเป็นระเบียงด้านหน้าทำด้วยไม้ ใช้สำหรับนั่งชมวิวและสั่งการในการมองเห็นการชักลากท่อนซุงไม้จากลำน้ำแม่วัง อีกฝั่งก็มีช่องทางเดินเหมือนกัน ห้องนอนทั้ง 2 ห้องมีประตูเข้าด้านหน้ามีช่องแสงเหนือประตู มีหน้าต่างเปิดสู่ภายในบ้าน ผนังห้องนอนด้านข้างเป็นผนังไม้ มีหน้าต่างบานเปิดคู่ลูกฟักติดกระจก ห้องนอนมีประตูเปิดออกสู่ระเบียงไม้ด้านหลังทั้ง 2 ห้อง หลังห้องนอนฝั่งขวามือด้านหลังจะเป็นห้องน้ำ กลางเรือนมีช่องทางเดินมีประตูบานเปิดคู่ลูกฟักไม้บานทึบใหญ่กว่าประตูห้องนอน ออกสู่ระเบียงหลังบ้าน ระเบียงทำด้วยไม้ ราวระเบียงเป็นไม้ตีช่องห่างโปร่งมีหลังคาเพิงคลุม ไม่มีฝ้าเพดานชายคา มีบันไดเชื่อมต่อลงไปหาเรือนหลังเล็ก ซึ่งเรือนหลังเล็กด้านหน้าจะเป็นห้องโถงเปิดโล่ง มีผนังระเบียงแบบฝาไหลโดยรอบ มีผนังไม้ปิดทึบด้านฝั่งทิศตะวันตก เรือนหลังเล็กมีห้องนอน 1 ห้องและห้องน้ำ ฝ้าเพดานกระเบื้องแผ่นเรียบบางส่วน ผนังห้องทำด้วยไม้ เสาชั้นล่างเป็นเสาไม้ต้นกลม มีการผุกร่องบางต้น ส่วนเสาไม้ด้านบนเป็นเสาไม้สักเหลี่ยม
พื้นที่โดยรอบบริเวณ ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล และพืชคลุมดิน
รั้วด้านข้างติดถนน เป็นรั้วไม้ ประตูเหล็กโปร่ง มีรั้วก่ออิฐโชว์แนวติดป้ายไม้ชื่อบ้านว่า บ้านบอมเบย์ เลขที่ 123
บ้านบอมเบย์ หลังนี้ตั้งอยู่บนถนนวังขวา ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือลำปาง วงเวียนไก่ขาว
เป็นบ้านอีกหลังหนึ่งที่มีอายุถึง 124 ปี และทรงคุณค่ามีประวัติศาสตร์ มีตำนานเล่าขาน ควรค่าแก่การอนุรักษ์เก็บรักษาให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไป
ขอขอบพระคุณ คุณสมพร จันทน์เกษร ที่เปิดบ้านให้เข้าไปถ่ายภาพและซักถามประวัติข้อมูลของบ้านด้วยครับ
เก็บภาพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2560
ผู้รวบรวมข้อมูลและถ่ายภาพ มนัสพี เดชะ ACLA รุ่น 23 รุ่นเสาเอก